วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์

http://wwwpb4thcom.blogspot.com/2008/07/blog-post.html

แสดงความคิดเห็น เรื่องhappy birthday สิทธิการตาย

เรื่องย่อ


พระเอกเป็นช่างภาพนิตยสารได้เข้าร้านหนังสือ เพื่อหาหนังสือที่มีรูปสวยๆ แต่กลับพบว่าหนังสือที่สนใจและมีเพียงเล่มเดียวนั้น มีคนมือบอนเขียนข้อความ ลงในหนังสือตามรูปต่างๆ เพื่อบอกว่าความจริงกับรูปที่ถ่ายเป็นอย่างไร ในที่สุดพระเอกได้ตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนั้น โดยมีข้อแม้ให้คนขาย วางหนังสือไว้ที่เดิม เพื่อเฝ้าดูคนมือบอน และมีการเขียนตอบโต้กัน ในหนังสือเล่มนั้น แต่พระเอกก็ยังไม่มีโอกาสเจอคนมือบอนสักครั้ง แต่ในที่สุดพระเอกก็ได้พบคนที่เขียนข้อความในหนังสือซึ่งก็คือนางเอกนั่นเอง โดยได้พบกันบังเอิญในร้านอาหารที่พระเอกได้แนะนำไป และนางเอก อยากลองพิสูจน์ว่าอาหารอร่อยจริงหรือไม่ และทำให้เป็นจุดเริ่มความสัมพันธ์ของทั้ง 2 คน แต่ภายหลังนางเอกก็เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ต่อหน้าพระเอก ในวันเกิดของพระเอก ที่ทั้ง 2 ได้นัดพบกัน และวันนั้นพระเอกก็ได้ สัญญากับนางเอกว่าจะดูแลกันและกันจนกว่าอีกฝ่ายจะตายจากไป เมื่อนางเอกประสบอุบัติเหตุทำให้ก้านสมองตาย และพ่อกับแม่ ของนางเอกตัดสินใจปล่อยให้ลูกตายจากไป แต่พระเอกกับไม่ยอม โดยยอมเสียสละตัวเองดูแลนางเอกตามสัญญา แม้จะต้องแลกด้วยทุกอย่าง
บทความที่น่าสนใจ
1.พินัยกรรมชีวิต
2.คนไข้มีสิทธิเหมือนตายสงบ
3.คณะรัฐมนตรีผ่านกฎหมายกระทรวง
สิทธิผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550 ที่อนุญาติให้ทำพินัยกรรมชีวิต หรือหนังสือแสดงสิทธิปฎิเสธการรักษา หมายถึง การไม่ขอรักษาที่ทำไปเพื่อยืดการตาย หรือยึดชีวิตที่ไม่อาจฟื้นกลับมาเหมือนเดิมได้

วิเคราะห์ พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็น
จากเรื่องย่อเรื่อง happy birthday เมื่อนางเอกประสบอุบัติเหตุทำให้ก้านสมองตาย และพ่อกับแม่ ของนางเอกตัดสินใจปล่อยให้ลูกตายจากไป แต่พระเอกกับไม่ยอม โดยยอมเสียสละตัวเองดูแลนางเอกตามสัญญา แม้จะต้องแลกด้วยทุกอย่าง
ตามข้อกฎหมายจะกล่าวบัญญัติเกี่ยวเรื่องสิทธิการตายว่าบุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง" จะเห็นได้ว่ามาตรานี้ ทำให้เกิดสิทธิขึ้น 2 อย่างด้วยกัน คือ
-สิทธิการตาย - เป็นเจตจำนงของผู้ป่วยเองโดยตรงที่จะตาย (อย่างมีศักดิ์ศรี?)
-สิทธิที่จะฆ่า - ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขเช่น แพทย์หรือพยาบาลสามารถละเว้นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโดยไม่ผิดกฎหมาย
กฎหมาย ตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550 ก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้ไม่เป็นการทรมารให้ผู้ป่วยจะต้องทนทุกข์ทรมารเกิน อย่างเช่นที่พระเอกพยายามที่จะยื่อชีวิตของนางเอกไว้ เพื่อที่จะทำตามสัญญาที่ได้เคยสัญญากับนางเอกไว้ว่าจะไม่ถึงกัน ถึงแม้ว่าชีวิตจะหาไม่ก็ตาม ก็จะไม่มีวันที่จะจากกัน ซึ่งนั่นหมายความว่า พระเอกพยายามที่จะยื้อชีวิตของนางเอกไว้ ทั้งๆที่ในเรื่องดูเหมือนว่ายังไงนางเอกก็จะไม่มีวันฟื้นอีกแล้ว แต่ตัวเอกก็ยังดื้อที่จะยังเก็บนางเอกเอาไว้ ก็เหมือนกับทำให้นางเอกต้องตายทั้งเป็น
ฉะนั้น ที่พ่อ –แม่ของนางเอกได้ตัดสินใจปล่อยให้ลูกตายจากไปดิฉันคิดว่าได้ทำถูกแล้วเพราะคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ไม่ควรที่ยื่อชีวิตลูกเอาไว้ทั้งๆที่มองไม่เห็นทางว่ายังไงลูกก็ต้องตายและสุดท้ายพระเอกก็ควรที่จะทำตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550 ที่ สิทธิผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550 ที่อนุญาติให้ทำพินัยกรรมชีวิต หรือหนังสือแสดงสิทธิปฎิเสธการรักษา หมายถึง การไม่ขอรักษาที่ทำไปเพื่อยืดการตาย หรือยึดชีวิตที่ไม่อาจฟื้นกลับมาเหมือนเดิมได้
เรียบเรียงโดย
นางสาว พัชรินทร์ แสวงหา
เลขที่ 21 รปศ.502

กฏหมายน่ารู้ ก่อนคิดมีชู้

ความรักบันดาลความสุขให้ทุกคนเท่าๆ กัน แต่บางครั้งความรักก็นำพาความวุ่นวายและปัญหาต่างๆ มาสู่ชีวิตของเราได้ หากไม่เข้าใจกันหรือไม่ซื่อสัตย์ต่อชีวิตคู่ของตัวเอง ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ ปัญหาต่างๆ ก็ต้องใช้กฎหมายเข้ามาช่วยเหลือ ไม่เว้นแม้กระทั่งการคบ ชู้

ปัจจุบัน ไม่ใช่ว่าผู้ชายไปมีกิ๊กหรือมีชู้ แล้วผู้หญิงที่เป็นเมียหลวงจะเรียกร้องสิทธิได้อย่างเดียว เพราะถ้าผู้หญิงมีชู้หรือไปมีความสัมพันธ์กับชายอื่น สามีที่จดทะเบียนสมรสก็มีสิทธิเรียกร้องจากภรรยาได้เช่นเดียวกัน (แต่ถ้าคุณไม่จดทะเบียนสมรสก็หมดสิทธินะจ๊ะ) ซึ่งสิทธิในการเรียกร้องจากศาลมีอยู่ 2 แบบ คือ

1. ค่าทดแทน เราสามารถเรียกร้องฝ่ายชู้และคนของเราเองได้ ในกรณีที่คนนั้นๆ ต้องแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีหรือภรรยาของคนอื่นเขาก็ถูกเรียกร้องสิทธินี้ได้ หรือมีหลักฐานมัดตัวแน่นหนา เช่น รูปถ่าย มีพยานบุคคลไปเห็นว่าเขาอยู่กินร่วมกัน มีสถานการณ์ที่จะสันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์มากกว่าเพื่อนในเชิงชู้สาวทางเพศหรือเปล่า ถ้ามีก็ฟ้องได้

ขณะเดียวกันคนที่เป็นภรรยาหลวงหรือสามี ก็ต้องไม่ได้แสดงพฤติกรรมในลักษณะให้อภัยหรือรู้เห็นเป็นใจ ถ้าคุณให้อภัยเมื่อไหร่ ค่าทดแทนที่คุณจะเรียกร้องได้นี่หมดสิทธิไปเลย และการเรียกร้องค่าทดแทน จะพิจารณาเกียรติยศและชื่อเสียของฝ่ายที่เสียหาย เช่น เมียหลวง เป็นคนมีชื่อเสียงในสังคมมาก การเรียกร้องค่าทดแทนก็สูงตามไปด้วย รวมทั้งพิจารณาจากสินสมรสที่อีกฝ่ายได้ไปแล้วด้วย

แต่ถ้าคุณมีหลักฐานไม่ใช่ชัดเจนเพียงพอ แล้วไปฟ้องร้องเขา หากศาลยกฟ้องว่าไม่มีหลักฐานชัดพอว่าเขาเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีเรา เราก็อาจถูกเขาฟ้องกลับได้ในฐานะหมิ่นประมาท เนื่องจากทำให้เขาเสื่อมเสียชื่อเสียงได้เช่นเดียวกัน

2. ค่าเลี้ยงชีพ นอกจากเรื่องการแบ่งสินสมรสกันแล้ว ถ้าเกิดหย่าไปแล้วทำให้อีกฝ่ายยากจนลง เขาสามารถมาเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ โดยศาลจะพิจารณาจากฐานะ สมมุติว่าผู้หญิงรวยมาก หย่าไปก็ไม่ได้ลำบากอะไร ตรงนี้ค่าเลี้ยงชีพก็อาจได้น้อยหรือไม่ได้เลย เพราะดูที่ความสามารถและฐานะของคู่สมรสด้วย

ทะเบียนสมรสกับสิทธิของลูก

1. ถ้าพ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ลูกที่เกิดจะไม่ใช่ลูกโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้สิทธิอะไรจากพ่อเลย เพราะถือเป็น 'บุตรนอกสมรส’หรือ ‘บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย’ (แต่ลูกจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของแม่เสมอ เนื่องจากฝ่ายหญิงเป็นคนอุ้มท้องและเป็นผู้ให้กำเนิด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิง)

แต่ถ้าอยากจะให้ลูกเป็น "บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย" ซึ่งเด็กจะได้รับสิทธิ 2 ประการ คือสิทธิในการที่พ่อต้องอุปการะเลี้ยงดูลูก และสิทธิเป็นทายาทคือได้มรดกเมื่อพ่อตาย ทำได้ 3 วิธี คือ 1.พ่อแม่จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง 2.พ่อทำการจดทะเบียนรับเด็กเป็นลูก หรือ 3.ศาลมีคำสั่งพิพากษาว่าเด็กเป็นลูก

แต่ถ้าทำไม่ได้สักทางเลย ก็ยังมีทางที่เด็กคนนี้จะได้รับสิทธิอยู่ แต่วิธีนี้จะได้สิทธิแค่เพียงประการเดียวคือ พฤติการณ์ต้องเข้าลักษณะว่าพ่อรับรองลูกโดยพฤตินัยแล้ว เช่น การที่ฝ่ายชายให้เด็กใช้นามสกุล ส่งเสียเลี้ยงดู ให้เรียนหนังสือหรือบอกกับชาวบ้านว่าเด็กเป็นลูกของตัว แต่เด็กจะเข้าสู่ฐานะเป็น 'ผู้สืบสันดาน' คือได้รับมรดกเมื่อพ่อตายเท่านั้น แต่ไม่ได้สิทธิเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู

2. ถ้าพ่อแม่จดทะเบียนสมรส ลูกจะได้รับการคุ้มครอง ลูกที่เกิดมาโดยชอบด้วยกฎหมายของพ่อแม่ จะมีสิทธิมากมายในฐานะบุตร เช่น พ่อแม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูส่งเสียให้ลูกได้เล่าเรียนมีการศึกษา หรือถ้าใครมาทำให้สามีหรือภรรยาถึงแก่ความตาย เช่น คนอื่นขับรถโดยประมาทมาชน เป็นเหตุให้สามีหรือภรรยาถึงแก่ความตาย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่รวมทั้งลูก ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการขาดไร้อุปการะได้ เพราะหน้าที่ในการอุปการะนี้เป็นหน้าที่ที่คู่สมรสหรือพ่อ-แม่-ลูกที่ต้องปฏิบัติต่อกัน แต่คนนอกมาเป็นต้นเหตุให้การอุปการะนั้นหายไป

Tip

ทะเบียนสมรสกับชีวิตคู่

ทะเบียนสมรสไม่ใช่แค่แผ่นกระดาษที่มีไว้ประกาศความเป็นเจ้าของ หรือมีไว้เพื่อประคองกอดให้สะใจเล่นๆ หรือเพื่อให้กฎหมายรองรับสถานะเท่านั้น แต่ทะเบียนสมรสมีค่ามากกว่านั้น...เพราะทะเบียนสมรสเป็นหลักฐานทางกฎหมายที่ทำให้สามีภรรยาได้ทั้งสิทธิและหน้าที่ต่อกันในเรื่องทรัพย์สินเงินทอง การจัดการงานบ้านงานเรือน การอบรมเลี้ยงดูลูก และสิทธิที่จะอ้างความเป็นสามีหรือภรรยาไปยันกับคนนอก เช่น การเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด หากว่ามีใครมาทำสามีหรือภรรยาเราตาย โดยเราสามารถอ้างได้ว่าทำให้เราขาดไร้ผู้อุปการะ หรือสิทธิรับมรดกหากเราอายุยืนกว่าคู่สมรสเรา และการป้องกันคนนอกมายุ่งเกี่ยวกับคู่ชีวิตของเรา

Tip

มีสติและหนักแน่น

"ในฐานะคนเป็นหลวงไม่ว่าจะเป็นสามีหรือภรรยา ก็ขอให้มีสติ บางอย่างเราก็ต้องหนักแน่น บางทีฟังเสียงนกเสียงกามากไป มันทำให้เราลังเลและจินตนาการมากไปว่าคนของเรามีชู้จริงๆ ก็เกิดอารมณ์ไม่ดีขึ้นมา ถ้าเช็คข้อมูลไม่ดี ไปฟ้องร้องแล้วเราก็มีสิทธิที่จะบาดเจ็บได้เหมือนกัน หรือถ้าคุยกันได้ในครอบครัวก็อย่าเพิ่งหย่ากันเลย จนกว่าเราจะอยู่ด้วยกันไม่ได้จริงๆ เพราะทะเบียนสมรสมันให้สิทธิคุ้มครองคนทั้งคู่เยอะมาก"
เรียบเรียงโดย นางสาวศรุตา โอมณี

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สิทธิการตาย
"บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง"


จะเห็นได้ว่ามาตรานี้ ทำให้เกิดสิทธิขึ้น 2 อย่างด้วยกัน คือ
-สิทธิการตาย - เป็นเจตจำนงของผู้ป่วยเองโดยตรงที่จะตาย (อย่างมีศักดิ์ศรี?)
-สิทธิที่จะฆ่า - ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขเช่น แพทย์หรือพยาบาล สามารถละเว้นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโดยไม่ผิดกฎหมาย

บทความที่น่าสนใจ

1.พินัยกรรมชีวิต

2.คนไข้มีสิทธิเหมือนตายสงบ

3.คณะรัฐมนตรีผ่านกฎหมายกระทรวง

สิทธิผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตามมาตรา 12 ของพรบ. สุขภาพแห่งชาติ 2550 ที่อนุญาติให้ทำพินัยกรรมชีวิต หรือหนังสือแสดงสิทธิปฎิเสธการรักษา หมายถึง การไม่ขอรักษาที่ทำไปเพื่อยืดการตาย หรือยึดชีวิตที่ไม่อาจฟื้นกลับมาเหมือนเดิมได้เป็นการขอให้แพทย์รักษา

ในเรื่องของสิทธิในการตาย ในเมื่อผู้ป่วยอยู่ในระยะไร้การเยียวยา สภาพร่างกายเสื่อมจนฟื้นคืนไม่ได้อีกแล้ว สิทธิการตาย น่าจะอยู่ที่การปล่อยให้ขั้นตอนการตายเป็นไปตามธรรมชาติ และก็ไม่ได้หมายความว่า แพทย์จะยุติการรักษา เพียงแต่การรักษาในระยะนี้เป็นไปเพื่อเยียวยาอาการ บรรเทาความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน แต่จะไม่ทำอะไรรุกเร้า เร่งหรือยื้อความตายอีกต่อไป ถ้าหากจะยืดการตายออกไปก็เป็นไปเพื่อสร้างความพร้อมทางจิตวิญญาณให้กับผู้ที่กำลังจะจากไป ในเรื่องของละครถ้าผู้ป่วยที่ไม่สามารถเยียวยารักษาได้ บุคลที่มีสิทธิตามความเป็นจริง คือ พ่อและแม่ที่สิทธิในผู้ป่วย

นางสาวศรุตา โอมณี