วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

รู้ทันกฏหมาย เรื่องพินัยกรรม

รู้ทันกฎหมาย : พินัยกรรม
การทำพินัยกรรมเป็นเรื่องส่วนตัวของคนคนนั้น อย่าว่าแต่สามีหรือภรรยาจะมากำกับเราไม่ได้ ต่อให้พ่อให้แม่ก็ยังไม่มีอำนาจสั่งให้หรือห้ามทำพินัยกรรมได้เลยการทำพินัยกรรมจำกัดอายุขั้นต่ำเอาไว้ ต้องอายุได้ 15 ปีแล้ว แม้ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายก็ทำได้ด้วยตนเอง อย่าคิดว่าลำบากยากจนไม่มีสมบัติ และไม่ต้องรอให้รวยเสียก่อนค่อยทำ เพราะพินัยกรรมเป็นกากำหนดการเผื่อตายเอาไว้ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรมันจะมาถึง และเมื่อนั้นเราอาจมีเงินมีทรัพย์สินมากมายก็เป็นได้
ในทางกลับกัน ต่อให้มีกี่ล้านในตอนที่ทำพินัยกรรมไว้ เกิดมาตายเอาตอนตกยาก พินัยกรรมจะสั่งเอาไว้ให้ยกทรัพย์อะไรให้ใครอย่างไร ถ้าทรัพย์สมบัติทั้งหลายไม่มีจะยกให้ ก็บังคับตามพินัยกรรมไม่ได้เท่ากับว่าการทำพินัยกรรมเป็นการจัดสรรแบ่งสมบัติตามที่เราต้องการให้มันเป็นไปในฐานะผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้น แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย ไม่ใช่บอกว่าจะยกให้แล้วจะกลายเป็นพินัยกรรมแล้ว
หลักที่ว่าก็คือ ต้องเข้าใจว่า ที่อยากยกอะไรให้ใครนั้น มันจะมีผลต่อเมื่อคนทำพินัยกรรมตายไปเสียก่อน เพียงแค่นอนเป็นพืชเป็นผักก็ยังไม่ได้ ต้องให้ตายแบบมีใบมรณะบัตรจริงๆ
อีกอย่างที่ต้องเข้าใจ เราไม่จำเป็นต้องยกทรัพย์ให้ใครต่อใครจนครบจำนวน บางทีเราเพียงอยากจะให้ที่ดินแปลงนี้หรือเงินฝากในธนาคารบัญชีนี้ให้กับลูกคนนี้ที่เรารักมากที่สุด ก็สามารถทำพินัยกรรมสั่งไว้แค่นั้นได้ ไม่ต้องไปแตะสมบัติชิ้นอื่น
พอตายไป ส่วนที่ระบุไว้ก็ตกได้ตามพินัยกรรม ส่วนสมบัติอย่างอื่นที่ไม่ได้บอกไว้ในพินัยกรรมก็เป็นไปตามกลไกของกฎหมายที่ต้องแบ่งให้ทายาทเป็นลำดับๆ ไป แม้กระทั่งลูกคนที่ได้ตามพินัยกรรมก็ยังมีสิทธิแบ่งได้จากมรดกนอกพินัยกรรมด้วย
นางสาวศรุตา โอมณี
เลขที่33 รปศ.502

รู้ไว้ก็ดีเรื่อง การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน

รู้ไว้ก็ดี
การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
ตัวอย่างการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
นายเอเป็นคนขับรถแท็กซี่รับผู้โดยสาร ซึ่งผู้โดยสารสั่งให้เลี้ยวขวาใกล้ๆกับแยกไฟแดง แต่นายเอก็พิจารณาแล้ว เห็นว่าบริเวณนั้นเป็นเส้นประ ซึ่งตามกฏจราจรให้เปลี่ยนเลนได้ก็เลยเปลี่ยนเข้าเลนติดๆกัน ซึ่งเป็นเลนที่เลี้ยวขวาได้ แล้วตำรวจจราจรก็ออกจากป้อมมาเรียกขอใบขับขี่นายเอ แต่นายเอก็ไม่ให้เพราะเห็นว่าตนเองไม่ผิดแน่ๆ ถ้าให้ไปก็โดนใบสั่งชัวร์ๆ ซึ่งดาบตำรวจคนนั้นชื่อบี เข้ามานั่งหน้ารถคู่กับนายเอให้ผู้โดยสารลงแล้วบอกให้นายเอไป สน.ระหว่างทางก็มีการโต้เถียงกันเรื่องผิดหรือไม่ผิด นายบีโมโหกะชากมือนายเอเพื่อที่จะเอากุญแจมือมาใส่ ตามสัญชาติญาณผมก็ดึงมือกับ แล้วพูดต่อว่าไปว่า "เอะ ตำรวจทำไมทำงี่เง่าอย่างงี้ล่ะ" ไปถึงโรงพัก สน. นายดาบบี จึ้งแจ้งความนายเอว่า ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ด้วยข้อความว่า "งี่เง่า"
จากตัวอย่างดังกล่าว นายเอถือว่าเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพโดยเป็นการดูหมิ่นเอาซึ่งๆหน้า
นางสาวศรุตา โอมณี
เลขที่ 33 รปศ.502

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเรื่อง พินัยกรรม

พินัยกรรม (อังกฤษ: Will หรือ Testament) เป็นการทำรายการเอกสารในการยกมรดกหรือทรัพย์สินให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ให้ใครโดยจะมีอำนาจหลังจากที่ผู้ทำได้เสียชีวิตไปแล้ว และพินัยกรรมนี้จะต้องถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้
รูปแบบของพินัยกรรม มีทั้งหมด 5 รูปแบบ คือ
1. พินัยกรรมแบบธรรดา (ป.พ.พ. มาตรา 1656)
ในการทำเป็นการเขียนตามรูปแบบหรือการพิมพ์ โดยพินัยกรรมที่ทำต้องลงวันที่ เดือน ปี ใน วันที่ทำพินัยกรรม และเจ้าของมรดกต้องเซ็นท้ายพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนและพยานต้องลงรายชื่อรับรองลายมือผู้ทำพินัยกรรมนั้นด้วย
2. พินัยกรรมแบบเขียนขึ้นเองทั้งฉบับ (ป.พ.พ. มาตรา 1657)
เจ้าของมรดกจะต้องเขียนขึ้นด้วยตนเองเท่านั้น จะให้ผู้อื่นเขียนแทนไม่ได้ เขียนเองทั้งฉบับ ต้องระบุวัน เดือน ปี ที่ทำการเขียน และลงลายมือชือตนเองลงไปด้วย
3. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง (ป.พ.พ. มาตรา 1658)
ผู้ทำพินัยกรรมต้องแจ้งความประสงค์ด้วยตนเองต่อนายอำเภอ และต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คนนายอำเภอจะจดข้อความพินัยกรรมลงไว้ และจะอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟังเมื่อข้อความถูกต้องเรียบร้อย ผู้ทำพินัยกรรมและพยานก็ลงชื่อไว้ จากนั้นนายอำเภอจะลงวันที่ เดือน ปี และลงลายมือชื่อไว้ แล้วเขียนบอกว่าพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้นถูกต้องทั้งหมด แล้วประทับตราตำแหน่งนายอำเภอเป็นอันเรียบร้อย
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ (ป.พ.พ. มาตรา 1660)
ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนพินัยกรรมด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นเขียนแทนก็ได้ และต้องลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ทำการปิดผนึกพินัยกรรมไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้น ว่าเป็นพินัยกรรมตน ถ้าพินัยกรรมนั้นมิได้เป็นผู้เขียนเอง ต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วยเมื่อนายอำเภอจดถ้อยคำและวัน เดือน ปี ที่ได้ทำพินัยกรรมไว้บนซอง แล้วก็ประทับตราตำแหน่งและลายมือชื่อบนซอง พร้อมกับผู้ทำพินัยกรรมและพยานด้วย
- ข้อยกเว้นการทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ
ถ้าบุคคลผู้เป็นใบ้และหูหนวกหรือผู้ที่พูดไม่ได้ มีความประสงค์ในการพินัยกรรมให้เขียนด้วยตนเองบนซองพินัยกรรมและให้ผู้อื่นไว่าเป็นพินัยกรรมของตนแทน
5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา (ป.พ.พ. มาตรา 1663)
ในกรณีที่ตกอยู่ในอันตรายใกล้เสียชีวิตหรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ทำด้วยวาจาได้ โดยแสดงเจตนาทำพินัยกรรมต่อหน้า พยานอย่างน้อย 2 คน แล้วพยานทั้งสองนั้นจะต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอ แล้วแจ้งขอทำพินัยกรรมแจ้งวันเวลาให้ทราบด้วยสถานที่ทำพินัยกรรมหรือพฤติกรรมพิเศษต่อ นายอำเภอจะจดข้อความนั้นไว้ แล้วพยานทั้ง 2 คนลงลายมือชื่อหรือถ้าลงลายนิ้วมือต้องมีพยานเพิ่มขึ้นอีก 2 คน เพื่อรับรองลายนิ้วมือด้วย
- ความสมบูรณ์ในการทำพินัยกรรม
ความสมบูรณ์ในการทำพินัยกรรมทำขึ้นตามมาตราก่อนนั้นย่อมสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลาผู้ทำพินัยกรรมกลับมาสู้การทำพินัยกรรมแบบอื่นๆที่กำหนดไว้ได้
- ความไม่สมบูรณ์ในการทำพินัยกรรม
หากมีการขูดลบ หรือเติมแก้ไขเปลี่ยนลแปลงข้อความใดๆ มีผลทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ได้ปฏิบัติอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรม หรือไม่ได้มีการเซ็นรับรองการเปลี่ยนแปลงใดๆจะทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์เช่นกัน
- หลักทั่วไปในการทำพินัยกรรม
โดยปกติแล้วเมื่อผู้ใดเสียชีวิตลง มรดกของบุคคลนั้นย่อมจะตกแก่ทายาท เช่น บิดา มารดา บุตร สามีหรือภรรยาเป็นต้น แต่ถ้าก่อนที่บุคคลนั้นจะเสียชีวิตลงเขาอาจจะทำ พินัยกรรมยกทรัพย์สินของเขาให้แก่ผู้ใดก็ได้ ไม่จำเป็นว่าบุคคลที่มีสิทธิรับพินัยกรรมจะต้อง เป็นทายาทเสมอไป
การทำพินัยกรรม เป็นเรื่องที่เราประสงค์จะให้ทรัพย์สินของเราตกแก่ใครเมื่อเราตายไปแล้ว แตกต่างจากการที่เราจะยกทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่นในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ หากว่า เราประสงค์ที่จะยกทรัพย์สินของเราให้แก่ผู้ใด เมื่อเราตายไปแล้วเราเรียกว่า พินัยกรรม ซึ่งต้องทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายเรากำหนด
1. ลักษณะของพินัยกรรม
พินัยกรรม คือการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเป็นผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย พินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาที่ประสงค์ให้มีผลเมื่อตนเองตายไปแล้ว ซึ่งจะยกทรัพย์สินให้แก่ใครก็ได้ หรือให้ผู้ใดเข้ามาจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดของตนก็ได้ แต่จะทำให้พินัยกรรมนั้น มีผลบังคับไปถึงทรัพย์สินของผู้อื่น ที่มิใช่ของตนนั้นย่อมทำไม่ได้ เช่น นายแดงทำพินัยกรรมว่า เมื่อตนเองตายจะขอยกที่ดินของนายขาว ซึ่งเป็นพี่ชายตนให้แก่ นางเหลือง ซึ่งเป็นการยกทรัพย์สินของผู้อื่นให้แก่นางเหลือง กรณีเช่นนี้ ทำไม่ได้ เพราะไม่ใช่ ทรัพย์สินของตน เอกสารที่มีข้อความเป็นพินัยกรรมแม้ไม่มีคำว่าเป็นพินัยกรรม ก็ถือว่าเป็น พินัยกรรมมีผลให้ได้ แต่ถ้ามีคำว่าพินัยกรรม แต่ไม่มีข้อความว่าพินัยกรรม ให้มีผลบังคับ
เมื่อตายไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นพินัยกรรม เช่น สมชายเขียนหนังสือไว้ว่า ตั้งแต่นี้ต่อไปขอทำ
พินัยกรรมยกเงินสดให้แก่นายเจริญ 5,000 บาท ดังนี้ถือว่าไม่ใช่พินัยกรรม เพราะไม่ประสงค์
จะให้นายเจริญได้รับเงินเมื่อหลังจากที่ นายสมชายตายไปแล้ว การพิจารณาว่าเป็นพินัยกรรมหรือไม่ ต้องมีข้อความกำหนดการเผื่อตายในเรื่องของทรัพย์สินของผู้ตายว่าให้ตกเป็นของใคร หรือให้จัดการอย่างไรเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายไปแล้ว หากมีข้อความดังกล่าวก็เป็นพินัยกรรมโดยไม่ต้องระบุว่าเป็นพินัยกรรม การทำพินัยกรรมอาจไม่ใช่เรื่องการยกทรัพย์สินให้ผู้ใดก็ได้ แต่อาจเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่ให้มีผลตามกฎหมายก็ได้ เช่น เมื่อตนเองตายไปแล้วขอยกปอดให้แก่โรงพยาบาลศิริราชหรือให้จัดงานศพของตนอย่างง่าย ๆ ดังนี้ก็เป็นพินัยกรรมเช่นกัน
2. ข้อพิจารณาในการทำพินัยกรรม
ผู้ที่ทำพินัยกรรมได้ต้องมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ จึงมีสิทธิตามกฏหมายในการทำพินัยกรรม
หากอายุต่ำกว่า 15 ปีทำพินัยกรรม ถือว่า พินัยกรรมนั้นใช้ไม่ได้ (พินัยกรรมนั้นไม่มีผล) หรือ ตาม
กฎหมายเรียกว่า เป็นโมฆะนั่นเอง นอกจากนั้นบุคคลใดที่ศาลได้มีคำสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความ
สามารถแล้ว ก็ไม่สามารถทำพินัยกรรมได้เช่นกัน หากฝ่าฝืนทำพินัยกรรมขึ้นมาผลก็คือพินัยกรรม นั้นใช้ไม่ได้หรือตามกฎหมายเรียกว่าเป็นโมฆะเช่นกัน

นางสาว พัชรินทร์ แสวงหา
เลขที่ 21 รปศ.502 ผู้เขียน

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงาน(การกระทำความผิดเกี่ยวกับการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน)

การดูหมิ่นเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวเนื่องมาจากการทำงานของเจ้าหน้าที่นั้นเอง เหตุที่กฎหมายต้องคุ้มครองเจ้าหน้าที่นั้น ก็เนื่องมาจากการที่เจ้าหน้าที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับประชาชนอยู่ตลอดเวลาและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นั้นบางครั้งก็เป็นการปฏิบัติงานในลักษณะของการบังคับ การตรวจสอบ ซึ่งเป็นการล่วงละเมิดสิทธิพื้นฐานบางประการ เช่น การตรวจค้นตัวบุคคล หรือตรวจค้นยานพาหนะเพื่อหาสิ่งผิดกฎหมาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ในบางครั้งก็สร้างความไม่พอใจขึ้นกับพี่น้องประชาชนโดยทั่วไป ที่อาจจะมองไปได้ว่า ตัวเองถูกกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ดังนั้นเมื่อความไม่พอใจเกิดขึ้น ก็อาจจะเกิดการยั่วยุ การกล่าวหา หรือการด่าว่าเจ้าหน้าที่ อันเนื่องมาจากการทำงานดังกล่าวได้ และหากไม่มีกฎหมายคุ้มครองเจ้าหน้าที่เอาไว้แล้ว เจ้าหน้าที่ดีๆ ที่ทำงานรับใช้ประเทศชาติประชาชน
อาจจะหมดกำลังใจ หรือเกิดความท้อแท้ที่จะทำงานต่อไปได้
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 ได้วางหลักแห่งความผิดเอาไว้ว่า "ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะ
ได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษ" ตามหลักกฎหมายข้างต้น ผู้ที่ทำความผิดนี้ จะต้องได้
1. มีเจตนา (ที่จะทำ)
2. ดูหมิ่น (การดูหมิ่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอาย ทำให้เสียหาย สบประมาท หรือการด่า หรือการดูถูก ซึ่งเป็นเรื่อง
ของการลดคุณค่าของผู้ถูกดูหมิ่นในทางสังคมลงมา การดูหมิ่นอาจจะกระทำด้วยคำพูด หรือว่าแสดงท่าทางออกมาก็ได้ และต้องดูหมิ่นเจ้าหน้าที่
คนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง)
3. เจ้าหน้าที่ (ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ และในขณะที่ถูกดูหมิ่นก็ต้องอยู่ในระหว่างเวลาการทำงานอยู่)
4. ซึ่งได้ทำตามหน้าที่ หรือเพราะได้ทำหน้าที่ (ต้องเป็นหน้าที่ตามตำแหน่งงานนั้นๆ)

ตัวอย่างเช่น
ในช่วงเทศกาลวันปีใหม่ ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ได้มีการตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ และใบอนุญาตในการขับขี่รถยนต์ และรถจักยานยนต์ นายสมศักด์ ได้ถูกจ่าชัดชัยเข้าเรียกค้นดู และปรากฏว่านายสมศักดิ์ไม่มีใบขับขี่รถจักยานยนต์ จึงถูกจ่าชัดชัยจับ และต้องทำให้นายสมศักดิ์ ต้องมีการเสียค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 300 บาท แล้วหลังจากนั้น นายสมศักด์ ได้ไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า เทศโก้โลตัสภูเก็ต จึงได้เห็นจ่าชัดชัยกำลังเลือกซื้อแหวนเพ็ชรให้ผู้หญิงคนหนึ่งอยู่ นายสมศักดิ์ จึงเกิดอาการโกรธ และได้เข้าไปต่อว่าจ่าชัดชัยว่า ทำเป็นเรียกให้มีการเสียค่าปรับ แท้จริงก็เพียงหวังจะเอาเปอร์เซ็นในส่วนนั้นมาเพื่อที่จะมาซื้อแหวนให้สาวนั่นเอง
ฉะนั้นการกระทำของนายสมศักดิ์ จึงเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 136

นางสาว พัชรินทร์ แสวงหา
เลขที่ 21 รปศ.502 ผู้เขียน

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงาน

กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงาน

เจ้าพนักงาน หมายถึง ผู้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายเฉพาะบัญญัติมาให้เป็นเจ้าพนักงาน ยกตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กำหนดให้กรรมการนับคะแนนหรือกรรมการตรวจคะแนนซึ่งเป็นประชาชนธรรมดา เป็นเจ้าพนักงาน นี่ก็ถือว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ส่วนข้าราชการที่รับเงินเดือนประเภทงบประมาณก็ถือเป็นเจ้าพนักงานเช่นกัน ถ้าเพียงแต่เป็นลูกจ้างหรือลูกจ้างชั่วคราวนั้นไม่ถือเป็นเจ้าพนักงาน เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติเฉพาะให้เป็นเจ้าพนักงาน
ข้อสังเกต - ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการนี้ ถึงแม้บุคคลธรรมดากระทำโดยลำพังจะไม่เป็นความผิด แต่เมื่อร่วมกับเจ้าพนักงานก็อาจเป็นผู้สนับสนุนได้
ต่อไปเป็นเรื่องหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามมาตรา 147 ถ้าหากไม่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ
ทรัพย์ใด ก็จะไม่เข้าองค์ประกอบความผิด
ส่วนทรัพย์ตามความหมายของมาตรา 147 นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นของทางราชการเสมอไปก็ได้ ตัวอย่างเช่น เงินประกันตัวผู้ต้องหาหรือโฉนดที่ดิน หรือของกลางในคดีอาญาที่ทางราชการมีหน้าที่รักษาไว้ เป็นต้น
คำว่าเบียดบัง มีความหมายทำนองเดียวกับยักยอก คือ ต้องครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ แล้วเอาทรัพย์นั้นไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นการเอาไปเพียงชั่วคราวแล้วเอากลับมาคืน นั่นย่อมไม่ใช่พฤติการณ์เบียดบัง
กฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับ การกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงาน
หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
มาตรา 136 ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือ เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 136 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจ ทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือ ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 138 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
มาตรา 139 ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วย หน้าที่หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินแปดพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 140 ถ้าความผิดตาม มาตรา 138 วรรคสอง หรือ มาตรา 139 ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะมีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง
หมายเหตุมาตรา 140 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2514
มาตรา 141 ผู้ใดถอน ทำให้เสียหาย ทำลายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่สิ่ง ใด ๆ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในการยึดอายัด หรือรักษาสิ่งนั้น ๆ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 142 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินหรือเอกสารใด ๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้ หรือสั่งให้ส่ง เพื่อเป็นพยานหลักฐาน หรือเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษา ทรัพย์ หรือเอกสารนั้นไว้เองหรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่นส่งหรือรักษา ไว้ก็ตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 143 ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือ ได้จูงใจพนักงานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐสมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมาย หรือโดย อิทธิพลของตนให้กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 144 ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา จังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 145 ผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็น เจ้าพนักงาน โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
เจ้าพนักงานผู้ใดได้รับคำสั่งมิให้ปฏิบัติการ ตามตำแหน่งหน้าที่ ต่อไปแล้วยังฝ่าฝืนกระทำการใด ๆ ในตำแหน่งหน้าที่นั้น ต้องระวาง โทษตามที่กำหนดไว้ในวรรคแรกดุจกัน
มาตรา 146 ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่อง หมายของเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา จังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล หรือไม่มีสิทธิใช้ยศ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กระทำการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ ต้องระวางโทษ
นางสาว พัชรินทร์ แสวงหา
รปศ.502 เลขที่ 21 ผู้เขียน

สิทธิการตาย

วิเคราะห์เกี่ยวกับการนำหลักกฎหมายมาใช้กับเรื่อง "happy birthday"

..................เรื่องราว ของเภาและเตน ในวันคล้ายวันเกิดของเตน สิ่งที่เป็นของขวัญที่มีค่าที่สุดของเตน ก็คือเภา วันนั้นเภาได้โทรมาหาเตน และกล่าวประโยคคำสำคัญ ณ สี่แยกไฟแดง ฝั่งตรงข้ามกับร้านอาหาร ที่เตนและเภาได้นัดกัน เสียงโทรศัพท์ เตนดังขึ้น เภาคุยหยอกล้อกับเตน เภาบอกเตนว่าได้ไปซื้อของขวัญ มาให้เตน เตนได้บอกกับไปว่า แค่เภามาก็ถือเป็นของขวัญของเตนแล้ว เภาจึงขอคำมั่นสัญญา จากเตนว่า
"สัญญานะจะดูแลของขวัญชิ้นนี้ไปตลอดชีวิต" ใครจะรู้ว่านี้คือความรู้สึกที่สำคัญมากสำหรับผู้ชายคนหนึ่ง


....................เภาเกิดอุบัติเหตุหลังจากวางโทรศัพท์ ทำให้แพทย์ที่รักษาได้ชี้แจงกับพ่อแม่ของเภาว่า เภามีกระดูกหลายที่ที่หักและก้านสมองตาย อยู่ที่ผู้ปกครองจะตัดสินใจว่าจะรักษาต่อหรือถอดสายออกซิเจน


....................ในทางการแพทย์ คนไข้ที่ก้านสมองตายเราถือว่าได้เป็นบุคคลที่สูญเสียชีวิตไปแล้ว แต่เตนไม่ยอม จึงพูดคุย กับพ่อแม่เภาว่า ของเปลี่ยนให้เค้าเป็นเจ้าของไข้แทน เตนดูแลเภาทุกอย่างตามที่ได้สัญญากับเภาไว้

.....................เวลาผ่านไป พ่อกับแม่เภาเห็นว่าไม่อยากให้เภาอยู่ในสภาพเจ้าหญิงนิทรา จึงมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น ทนายถามว่าผู้ร้องได้ดึงคนไข้ไว้เนื่องจากสาเหตุใด เตนตอบว่าเพราะ "ผมรักเธอ" ถึงวันตัดสิน ศาลได้ตัดสินว่าให้อยู่ในการดูแลของบิดามารดา เช่นเดิม ปัญหาการตายทางการแพทย์ที่เรียกว่า “ก้านสมองตาย” นี้ได้เกิดขึ้นมาช้านานแล้ว

....................ซึ่งปัจจุบันนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างวิชาการทางแพทย์และทางกฎหมาย โดยทางการแพทย์ตามหลักวิชาการยืนยันว่าผู้ที่ก้านสมองตายนั้นถือว่าเป็นการตายแล้วและ แพทย์สามารถยุติการรักษาชีวิต

.....................จากเรื่องราวทั้งหมด คุณคิดว่า เตน ซึ่งเป็นแค่ "แฟน" จะสามารถขอดูแลเตน ที่เป็นคนรัก ซึ่งแพทย์เห็นว่าเป็นบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วได้หรือไม่

......................กล่าวถึงหลักกฏหมายของไทยว่าด้วยการเสียชีวิต พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยสิทธิการตาย มาตรา 24 ระบุไว้ว่า“บุคคล มีสิทธิแสดงความจำนงเกี่ยวกับวิธีการรักษาพยาบาลหรือปฏิเสธการรักษาที่เป็นไปเพื่อการยืดชีวิตในวาระสุดท้าย ในชีวิตของตนเอง เพื่อการตายอย่างสงบและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” โดยมีคำชี้แจงว่าเพื่อให้บุคคลมีสิทธิเลือกตายอย่างสงบ

.....................ตามความเห็นของข้าพเจ้า เมื่อดูภาพยนตร์เรื่องนี้จบแล้ว รู้สึกเห็นใจเตนที่มั่นคงในความรักของตนเอง ทั้งๆที่ เภาไม่สามารถโต้ตอบอะไรตนได้ คงจะรู้สึกเหมือนกับพ่อกับแม่ของเภาที่ไม่ตัดสินใจที่จะดึงสายออกซิเจนออก

นายณัฐพจน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
เลขที่10 รปศ.502

การแจ้งความเท็จ

ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม

ทนายคลายทุกข์ขอนำประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานยุติธรรม หมวดที่ 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงานยุติธรรม มาตรา 172 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา พนักงานสอบสวนแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่สืบสวนคดีอาญา ซึ่งทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 4 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตามที่มีข่าวเจ้าของเพชรแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน ผู้กระทำความผิด จะต้องถูกดำเนินคดี ตามมาตรา 172 และหากมีการปลอมเอกสาร และนำมาใช้กับพนักงานสอบสอนจะถูกแจ้งขอหาเพิ่มตามมาตรา 264 ,268 อีกข้อหาหนึ่ง คดีนี้เป็นอุธทาหรณ์ว่า การแจ้งความเท็จ ถ้าความจริงปรากฏผู้แจ้งจะกลายเป็นผู้ต้องหาทันที

รายงานข่าว

กรณีนายจักรพันธ์ ประมวลสุข อายุ 71 ปี เข้า แจ้งความพนักงานสอบสวน สน.ดอนเมือง ว่าถูกคนร้ายฉกเพชรแอฟริกาน้ำหนัก 2,100 กะรัต มูลค่าประมาณ 315 ล้านบาท โดยใบรับรองยืนยันจากสถาบันอัญมณี-ศาสตร์สากล เหตุเกิดที่บริษัทจัดหางาน ซาป้า อินเตอร์-เนชั่นแนล เซอร์วิส จำกัด เลขที่ 161/414-411 ซอยวิภาวดี 76 ถนนวิภาวดี แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กทม. ต่อมาคนร้ายได้นำเพชรของกลางที่ฉกไปส่งคืนกลับมา เมื่อเจ้า-หน้าที่ตำรวจนำไปตรวจสอบ ปรากฏว่าอัญมณีดังกล่าวเป็นเพียงแร่ชนิดหนึ่งชื่อคิวบิกเซอร์โคเนีย มูลค่าราว 200 บาทเท่านั้น ไม่ใช่เพชรราคามหาศาลตามที่แจ้งความไว้
ความคืบหน้าในเรื่องนี้ เมื่อสายวันที่ 1 ส.ค. พ.ต.ท. ณฐกร คุ้มทรัพย์ พงส.(สบ3) สน.ดอนเมือง เปิดเผยว่า ตอนนี้ยังไม่สามารถแจ้งความใครได้ เนื่องจากยังไม่ได้รับการติดต่อจากผู้เสียหายแต่อย่างใด ทั้งนี้ ในส่วนของนายจักรพันธ์เดินทางมารับเพชรกลับคืนไปแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 ก.ค. จากการสอบสวนในเบื้องต้นนายจักรพันธ์ ยืนยันว่าเพชรที่มีผู้นำมาคืนเป็นเพชรของตนเองจริง ขณะ เดียวกันก็ยังยืนยันว่าอัญมณีดังกล่าวเป็นเพชรแท้ ไม่ใช่ แร่ตามที่มีการนำไปตรวจสอบ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นว่านายจักรพันธ์ยังมีอาการป่วยอยู่จึงปล่อยให้เดินทางกลับไปพักผ่อนเสียก่อน และจะนัดมาสอบสวนหาข้อเท็จจริงอีกครั้ง เมื่อนายจักรพันธ์หายป่วยและพร้อมจะให้ปากคำ
พ.ต.ท.ณฐกรกล่าวอีกว่า สำหรับข้อหาในเรื่องของการแจ้งความเท็จนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากยังไม่ได้สอบสวนข้อเท็จจริง ทั้งนี้ ต้องพิจารณาก่อนว่านายจักรพันธ์มีเจตนาที่จะโกหกหลอกลวงหรือไม่ ต้องใช้เวลาในการสอบปากคำและรวบรวมพยานหลัก-ฐานระยะหนึ่ง สำหรับบริษัทเจ้าของใบรับประกันที่ตก เป็นผู้เสียหายในคดีนี้ ถ้าหากจะมาแจ้งความเอาผิดกับ นายจักรพันธ์ก็สามารถดำเนินการได้ ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอม ให้มาติดต่อพนักงานสอบสวน สน.ดอน-เมือง อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้ใดติดต่อขอแจ้งความแต่อย่างใด
ด้าน พ.ต.อ.เจริญ ศรีศศลักษณ์ รอง ผบก.น.2 กล่าวว่า ขณะนี้ฝ่ายสืบสวนยังคงติดตามหาตัวคนร้ายที่ก่อเหตุฉกเพชรอยู่ ซึ่งคาดว่าน่าเป็นคนที่อยู่ในวงการค้า ขายเพชร ตอนนี้ยังมีประเด็นที่ขัดแย้งอยู่หลายเรื่องคือหากเป็นคนร้ายจริงก็ไม่น่าจะนำเพชรมาคืน ขณะเดียวกันยังตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของนายจักรพันธ์ เจ้าของเพชร ที่นำเอกสารเท็จอ้างว่าเป็นเพชรแท้ แจ้งราคาเกินจริง ว่ามีจุดประสงค์อย่างไร ตรงนี้ผู้เสียหายต้องนำหลักฐานมายืนยันเพื่อให้เกิดความชัดเจน หากเข้าข่ายความผิดก็จะถูกดำเนินคดีแจ้งความเท็จและใช้เอก

นายณัฐพจน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
เลขที่10 รปศ.502

การหย่าร้าง

ปัญหาความแตกแยกระหว่างครอบครัว “การหย่าร้าง”
ชีวิตมีการเริ่มต้นก็ต้องมีจุดจบ มีเกิดก็ต้องมีตาย เมื่อถึงจุดจบ แต่ละคนก็เป็นไปตามวิถี ชีวิตของตน ชีวิตการแต่งงานก็เช่นกัน มีการสิ้นสุดลงโดยวิธีการหย่าร้าง การตายจากกัน การละทิ้ง การแยกกันอยู่ คู่สมรสอาจจะอยู่กันนาน บางคู่ก็อาจจะอยู่กันสั้น
การหย่าร้าง คือ การสิ้นสุดชีวิตแต่งงานของคู่สมรส เป็นการแตกแยกของบุคคลที่เคยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด การหย่าร้างในตัวของมันเองเป็นเรื่องเศร้า เป็นการทำลายความรัก ความเชื่อของบุคคลที่เคยผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง แต่การหย่าร้างก็ไม่ใช่ความเศร้าที่ถาวร เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขได้เหมือนกัน
การหย่าร้างเป็นปัญหาการแตกแยกของครอบครัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยเราการหย่าร้างมีกรณีที่จะยกเป็นข้ออ้างได้หลายกรณีคือ
• สามีหรือภรรยามีชู้ นอกใจซึ่งกันและกัน
• ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือทำร้ายร่างกายอีกฝ่ายหนึ่งบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งถึงบาดเจ็บ หรือหมิ่นประมาทอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
• สามีหรือภรรยาจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินกว่าหนึ่งปี หรือไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยาอย่างร้ายแรง จนอีกฝ่ายหนึ่งไม่อาจจะอยู่กินเป็นสามีภรรยาต่อไป อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
• สามีภรรยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้จำคุกฐานลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์โจรสลัด หรือปลอมแปลงเงินตรา หรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดอย่างอื่นเกินกว่าสามปี อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
• สามีหรือภรรยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญและศาลยังไม่เพิกถอนคำสั่งนั้น อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
• สามีหรือภรรยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เพราะเหตุวิกลจริตตลอดมาเกินกว่าสามปีนับแต่วันศาลสั่ง และความวิกลจริตนี้ ไม่มีทางรักษาให้หายได้ถึงขีดที่จะอยู่กินเป็นสามีภรรยาต่อไปไม่ได้อีกแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
• สามีหรือภรรยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
• สามีหรือภรรยาเป็นโรคติดต่อร้ายแรงอันอาจเป็นภัยอีกฝ่ายหนึ่ง และโรคนี้ไม่มีทางรักษาให้หายได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
• สามีหรือภรรยามีอวัยวะสืบพันธุ์ไม่สมบูรณ์จนไม่มีความสามารถจะอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยาได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ปัญหาการหย่าร้างมีผลกระทบทำให้เด็กในสังคมไทยก่อปัญหาทางสังคมมากมาย ด้วยสาเหตุที่เด็กอยู่ในครอบครัวแตกแยก จะขาดความรัก ความอบอุ่น มีความรู้สึกไม่มั่นคง เนื่องจากลูกเคยชินต่อสภาพพ่อแม่ให้ความรัก ความอบอุ่น และความมั่นใจแก่เขา แต่ความสัมพันธ์แบบนี้ต้องถูกทำลายไป ทำให้มีผลกระทบ
กระเทือนต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล เช่น เด็กที่เคยยึดพ่อแม่เป็นแบบฉบับ ในเรื่องค่านิยม อารมณ์ แบบของความประพฤติที่ช่วยให้เด็กมีบุคลิกภาพที่ดี แต่เมื่อหน่วยของครอบครัวถูกทำลายลง ลูก ๆ บางครั้ง
ก็ไม่ทราบว่าจะหันหน้าไปพึ่งใคร ซึ่งอาจทำให้เขาผิดหวัง และมีเรื่องที่ทำให้สะเทือนใจ กลายเป็นเด็กกระทำผิด เช่น การประพฤติผิดทางเพศ ติด ยาเสพติด และการเป็นเด็กจรจัด ฯลฯ การปรับตัวของเด็ก หลังการหย่าร้าง ลูกมักจะอยู่กับแม่ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อบุคลิกภาพของเด็ก เพราะทั้งพ่อและแม่จะเป็นคนอบรมเด็ก และเด็กก็เรียนรู้บทบาทจากพ่อและแม่ ซึ่งเป็นต้นฉบับสำหรับชีวิตของผู้ใหญ่ แต่ถ้าเหลือแต่แม่ และแม่ต้องทำหน้าที่เป็นทั้งพ่อและแม่ โดยบางครั้งแม่ก็ไม่สามารถปลูกฝังพฤติกรรมแบบพ่อให้แก่ลูกได้ ทำให้เด็กมีปัญหาทางเพศ เช่น เด็กผู้ชายจะมีนิสัยเป็นผู้หญิง (ตุ๊ด) ในอีกแง่มุมเด็กที่ถูกเลี้ยงดูจากพ่อก็จะมีพฤติกรรมเลียนแบบพ่อ แต่อย่างไรก็ตามเด็กทั้งหญิงและชายโดยทั่วไปมักจะมีความใกล้ชิดชอบกับแม่มากกว่าพ่อ แม่จึงมีอิทธิพลโน้มน้าวจิตใจเด็กได้มากกว่า และในกรณีที่ครอบครัวไม่มีความสุข ลูกสาวและลูกชายมักจะเข้าข้างแม่มากกว่าพ่อ
การหย่าร้างเป็นการสิ้นสุดชีวิตแต่งงานของคู่สมรส ย่อมเป็นเรื่องเศร้าที่เกิดขึ้นใน สังคมไทย โดยเฉพาะผู้หญิงที่หย่าร้างมักจะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูลูก หรือ ทำงานหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว การลดปัญหาการหย่าร้างนั้น ทำได้ไม่ยากนักเพราะ เป็นความต้องการทั้งสองฝ่ายที่จะแยกกันอยู่อย่างเด็ดขาด ทางที่จะช่วยได้ก็คือ พยายามประวิงเวลาของการหย่าร้างไว้ก่อนถ้าเป็นไปได้ มีหลายคู่เหมือนกันที่มีเจตจำนงจะหย่าร้างกัน เจ้าหน้าที่ก็แนะนำหาเหตุผลประกอบทั้งผลดีและผลเสีย ทำให้เปลี่ยนใจภายหลังได้ อาจจะให้โอกาสแต่ละฝ่ายใช้เวลาไตร่ตรองให้นาน ๆ เสียก่อนได้ หรือถ้าหากพิจารณาคดีของการหย่าควรจะทำเป็นความลับ เพื่อไม่ให้แต่ละฝ่ายเสียชื่อเสียง นอกจากนั้นก็หาทางให้ การศึกษาเรื่องเพศศึกษาแก่ครอบครัว เพื่อเป็นการสอนแนวทางชีวิตเป็นจริงในสังคม เน้นหนักในด้าน การศึกษาอย่างแท้จริง เพราะจะเป็นภัยอย่างยิ่งถ้าถือว่าเป็นเรื่องลึกลับต้องห้าม เพื่อป้องกันปัญหาอันจะเกิดตามมาภายหลังจากการหย่าร้าง

นายณัฐพจน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
เลขที่10 รปศ.502

กฎหมายที่ควรรู้ เกี่ยวกับการแจ้งความเท็จ

การแจ้งความเท็จ
จากข่าวจะเห็นได้ว่า ณ ปัจจุบันนี้ สังคมได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษเรื่องของ
อดีตนักร้อง นักแสดงชื่อดัง นาธาน โอมาร ได้ตกเป็นข่าวทางด้านลบมากมาย จากกรณีที่ นาธาน ได้เคยกระทำโดยการหลอกลวงกับผู้อื่นไว้ ซึ่งตอนนี้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการหลอกลวงของนาธาน จนบางคนได้รับความเดือดร้อนถึงขั้นจะสูญเสียที่ดิน ซึ่งเป็นมรดกชิ้นสุดท้ายไป ก็ต่างพากันออกมาแฉ นาธาน ให้กับสังคมได้รับรู้
แต่ นาธาน ผู้ต้องหาของสังคมผู้นี้ กลับไม่มีการยอมรับ และยังมีข้อแก้ตัวต่างๆ นานา เพื่อให้ตนเองพ้นผิด และต่อมา เมื่อผู้เสียหายทั้งหมดได้เข้าแจ้งความกับตำรวจ เพื่อที่จะให้เอาผิดกัยนาธาน ซึ่งต่อมานาธานก็ได้มีการปลอมแปลงเอกสาร และนำข้อมูลที่เป็นเท็จไปแจ้งให้กับตำรวจ
ก็เพื่อหวังที่จะให้ตนเองพ้นผิด
ฉะนั้น การกระทำของ นาธาน ก็เข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมายของ การแจ้งความเท็จดังนี้
มาตรา 172 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือ ประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดิฉันขอเพิ่มข้อที่ควรรู้อีกนิดนะค่ะ
การแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานเป็นความผิดได้หลายประการ
มาตรา 137 เป็นบททั่วไป
ถ้าเป็นผิดตามมาตรา 172,173 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่เป็นผิดตามบททั่วไป
ฟ้องเท็จ มาตรา 175
เบิกความเท็จ มาตรา 177
แปลข้อความเท็จ มาตรา 178
ทำหลักฐานเท็จ มาตรา 179
นำสืบพยานเท็จ มาตรา 180
แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ มาตรา 267
แต่การบอกชื่อเท็จ เป็นความผิดลหุโทษ ตามมาตรา 367 เป็นบทเฉพาะยกเว้นบทอื่น
ตัวอย่างการแจ้งความเท็จ เช่น
ก. ถูกคนร้ายฆ่าตาย จำเลยเห็น ส. กับ ฮ. ร่วมกันฆ่า ก. ตาย โดยมิได้เห็น ท. ร่วมกระทำความผิดด้วยแต่จำเลยได้แจ้ง แก่เจ้าพนักงานตำรวจผู้ออกไปสืบสวน และให้การต่อพนักงานสอบสวน ว่าเห็น ท. ร่วมกับ ส. และ ฮ.ฆ่า ก. จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ เกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวน และเจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ตามมาตรา 172 เมื่อการกระทำของ จำเลยต้องด้วยมาตรา 172 ที่บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติโดยทั่วไปอีก กรณีที่จำเลยแจ้งความกล่าวหา เป็นเรื่องมีคนร้ายฆ่านายกวงตาย ซึ่งได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง มิใช่แจ้งความกล่าวหาโดยมิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 173

นางสาว พัชรินทร์ แสวงหา
รปศ.502 เลขที่ 21 ผู้เขียน

บทความ เรื่อง การหย่าร้าง ที่ชีวิตคู่ควรรู้

การหย่าร้าง

การหย่าร้าง หมายถึง การสิ้นสุดของชีวิตคู่ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวเข้าหากันได้ หรือมีเหตุผลทางสังคมอย่างอื่น
การหย่าร้างของคู่สมรส ของคู่จดทะเบียนสมรสมี 2 แบบ คือ การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย และการหย่าโดยการฟ้องหย่า
การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ที่ทำการจดทะเบียนสมรสจะไปทำการหย่ากันที่อำเภอ ตกลงกันในเรื่องทรัพย์สิน บุตร ค่าเลี้ยงดู และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน พร้อมด้วยพยาน 2 คน เรียกว่า จดทะเบียนหย่า
การหย่าร้างก่อให้เกิดผลเสีย คือ นำความผิดหวังมาสู่คู่สมรส และบุตร ทำให้เสียบุคลิกภาพ เกิดความทุกข์ทรมานใจ การหย่าร้างยังก่อให้เกิดปัญหาสังคม เช่น โสเภณี ปัญหาเด็กและเยาวชน ฯลฯ เกิดความหมางเมินระหว่างความสัมพันธ์ของญาติพี่น้องทั้งสองฝ่าย และฝ่ายหญิงมักประสบปัญหาการดิ้นรนแสวงหาการเลี้ยงชีพและบุตร
ดิฉันคิดว่าปัจจุบันนี้ การหย่าจะเกิดขึ้นได้ ง่ายมากๆ หากทั้งสองฝ่ายตกลงเรื่องอนาคตกันได้ การหย่านั้นแน่อยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ เซ็งหน้ากันขึ้นมาก็ขอหย่า มันต้องมีสาเหตุ เมื่อสาเหตุมันเกิดขึ้น ก็ย่อมต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะตัดสินใจได้ว่า อนาคตของทั้งคู่จะเป็นอย่างไร
แต่ถ้าคุณมั่นใจว่าคุณต้องการจะหย่าร้างกัน ดิฉันคิดว่าควรปฏิบัติดังนี้
1.หาทนาย
การหย่ากันให้เป็นผลนั้น ต้องทำตามกฏหมาย มีเอกสารหย่าเป็นหลักฐาน ซึ่งจำเป็นต้องมีทนาย หากว่าทั้งสองตกลงกันได้ด้วยดี ก็อาจจะมีเพียงผู้ประสานการหย่าร้าง ซึ่งเขาจะทำหน้าที่คอยดูแลให้แน่ใจว่าทั้งสองฝ่ายจากกันได้ด้วยดี และจะไม่มีปัญหาอะไรในอนาคต
2. ขอหย่า
การหย่าร้างจะทำได้ 2 วิธี คือ
1. แยกกันอยู่ หากว่าคุณทนไม่ได้ที่จะต้องอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน กรณีนี้ทั้งคู่ยังคงเป็นสามีภรรยากันอยู่ คุณจะแยกกันอยู่ก็ได้ ถ้าหากว่ายังไม่พร้อมทางด้านการเงินที่จะต้องหย่าร้างกันจริงๆ หากภายหลังทั้งคู่พร้อม ก็ทำการหย่าร้างกันตามกฏหมายต่อไป
2. หย่าร้างกันไปเลย กรณีหลังนี้ต้องให้ทนายหรือผู้ประสานงานหย่าร้าง ทำหนังสือคำขอ ยื่นพร้อมกับเอกสารทะเบียนสมรส และใบแจ้งเกิดของทั้งคู่และบุตร(ถ้ามี)ไปยังศาล ทั้งคู่จะเลิกกันตามกฏหมายและสามารถจะแต่งงานใหม่กับบุคคลอื่นได้ในภายหลัง
หลังจากที่รู้ว่าจะไม่อยู่ด้วยกันแล้ว สิ่งสำคัญที่เป็นหัวข้อในการจัดการก็คือลูก และเรื่องการเงิน (หรือสินสมรส) ว่าจะแบ่งกันอย่างไร ถ้าทั้งสองฝ่ายตกลงเรื่องนี้กันได้ก่อนหย่า ทนายก็สามารถจะแจ้งเรื่องขึ้นสู่ศาลได้เลยล่วงหน้า ทั้งนี้เราต้องทำรายการว่าสินทรัพย์ที่มีนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

การฟ้องหย่า
เมื่อสองฝ่ายตกลงกันด้วยดีไม่ได้ หรืออีกฝ่ายยักท่า ไม่ยอมหย่า ก็ต้องฟ้องหย่า การฟ้องหย่านั้นจะทำได้โดยทั้งสองฝ่ายจะต้องมีทนายความของตนเอง และห้ามใช้ทนายคนเดียวกัน

การฟ้องหย่าเริ่มต้นด้วยการยื่นคำร้องขอหย่า ซึ่งจัดทำโดยทนายของคุณ ทนายจะต้องรวมรวมข้อมูล เอกสาร และหลักฐานต่างๆ เพื่อให้ศาลยินยอมให้คุณได้หย่า ทั้งนี้ทนายของอีกฝ่ายก็สามารถยื่นเอกสารเพื่อให้คำร้องของคุณตกไป เมื่อศาลมีเอกสารของทั้งสองฝ่ายแล้วก็จะเชิญทั้งคู่มาให้ปากคำในศาล หลังจากสองอาทิตย์เมื่อได้ผลสรุปและการตัดสินจากศาล ศาลก็จะออกใบอนุมัติการหย่าของคุณมา ซึ่งจะมีรายละเอียดการตกลงในเรื่องต่างๆขัางต้น ทั้งคู่ต้องยินยอมรับไปปฏิบัติตาม การต่อสู้ในชั้นศาลอาจะใช้เวลาสามเดือนขึ้นไป หรือนานกว่านั้น
หากว่าคุณมีลูก ศาลจะตัดสินจากปัจจัยต่างๆ ว่าลูกควรจะอยู่กับใคร และ ถ้าลูกคุณอายุเกิน 12 ปี ซึ่งถือว่าตัดสินใจเองได้ ศาลจะให้เด็กเป็นผู้เลือกว่าอยากอยู่กับใคร ถ้าหากว่าคุณยังไม่พอใจกับผลการตัดสินของศาล คุณสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อไปในชั้นสูงได้ ภายในสองเดือนหลังจากผลของการตัดสินแรก
แต่สุดท้ายนี้ดิฉันก็ขอฝากแนวคิดเล็กๆ น้อยให้กับชีวิตคู่ทั้งหลาย …ว่า…
คำเตือนและคำแนะนำสำหรับคนที่ยังไม่ได้แต่งงาน ชีวิตแต่งงานของคุณ ไม่มีบุคคลที่สามใดที่จะเข้าใจได้ดีกว่าคุณทั้งคู่เอง หากว่าการทนอยู่ด้วยกันมีแต่จะทำให้ทั้งสองฝ่าย รวมทั้งลูกหมดความสุข การเลือกที่จะหย่าร้างก็เป็นสิทธิของทั้งคู่ อย่าทำให้คนรอบข้างเดือดร้อนด้วยการพยายามเป็นศัตรูกับอีกฝ่ายหนึ่ง อย่าแต่งงานเพียงเพราะว่าคุณคิดว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้น การแต่งงานที่ขาดความรักความเข้าใจและโดยอย่างยิ่งความอดทน จะเป็นผลไปสู่การหย่าร้างกันในเร็ววัน เมื่อคุณตัดสินใจแต่งงาน อย่าลืมว่าคุณได้ใช้เวลาปลูกต้นรักมา ก่อนจะเลิกรากัน ใช้เวลาพิจารณาสิ่งที่คุณได้ทำร่วมกัน และนึกถึงอนาคตของบุคคลที่สามด้วย อย่าพยายามคิดล่วงหน้าไปถึงการหย่าร้าง เพราะนั้นหมายถึง เป็นการทำร้ายบุคคลที่สาม ที่เรียกว่า ลูก ของคุณก็ได้

นางสาว พัชรินทร์ แสวงหา
รปศ. 502 เลขที่ 21 ผู้เขียน

บทความการหย่าร้าง
การหย่าร้าง หมายถึง การสิ้นสุดของชีวิตคู่ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวเข้าหากันได้ หรือมีเหตุผลทางสังคมอย่างอื่น การหย่าร้างของคู่สมรส ของคู่จดทะเบียนสมรสมี 2 แบบ คือ การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย และการหย่าโดยการฟ้องหย่า
เมื่อหย่าเสร็จดิฉันคิดว่าอารมณ์หลังการหย่าร้าง มีทุกรูปแบบและทุกอาการ บางคู่หย่าด้วยดี หลังจากร่วมกันแก้ปัญหาไม่ได้หรือไม่ลงตัว บางคู่ก็เป็นศัตรูกันอย่างถาวรและมีลูกเป็นเครื่องต่อรอง ไม่มีภาพเดิมของคนที่รักกัน
หากคนที่ยังเสียใจอยู่ ขอให้มีกำลังใจสู้ต่อ นึกแค่ว่า คน 2 คนไม่รักกันแล้ว ไม่ใช่เนื้อคู่กัน หรือเรายังรักเขาอยู่แต่อยู่ร่วมกันไม่ได้ไม่ว่าสาเหตุใดก็ตามทำใจให้เข้มแข็ง ร้องไห้เถอะคะ ร้องให้พอ นั่งนึกถึงสิ่งที่คุณเสียใจและเสียดายแล้วร้องให้พอ
ยกตัวอย่างเช่นคนที่รู้จักกันแต่ถือว่าเป็นญาติแล้วกัน คือ หญิงคนนั้นไปแย่งแฟนชาวบ้านเขาแล้วทีนี้ภรรยาของเขารู้ว่าสามีแอบไปมีชู้แถมผู้หญิงทั้งสองคนนั้นสนิทกันมาก บ้านก็อยู่ติดกันรู้ทั้งรู้ว่าของเพื่อนแล้วยังไปมั่ว เมื่อภรรยารู้แล้วก็ขอหย่าจากสามีโดยทั้งสองฝ่ายต่างยินยอม แต่คนที่น่าสงสาร คือ ลูกๆ ของทั้งสองคน ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้เชื่อว่าผู้หญิงทุกคนไม่อยากเป็นเมียน้อยหรือเมียหลวงอยากเป็นคนเดียวที่จะอยู่เคียงข้างเขาตลอดไปเท่านั้น
นางสาวศรุตา โอมณี เลขที่ 33 รปศ.502 ผู้เขียน

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

บทความการแจ้งความเท็จ

ตัวอย่างการแจ้งความเท็จ
จากประสบการณ์ที่ครอบครัวของดิฉันได้ประสบปัญหาที่เป็นข้อหาการแจ้งความเท็จ คือ เหตุการณ์ที่พี่ชายของดิฉันได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ถูกคู่กรณีกล่าวหาว่าเป็นคนขับรถชนทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นพี่ชายของดิฉันไม่ได้เป็นคนที่ขับรถไปชนแต่มีรถคันอื่นที่ขับมาชน
วันนั้นซึ่งเป็นวันฮารีรายอซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม พี่ชายและเพื่อนๆของดิฉันได้ไปเที่ยวที่ชายหาดปากบารา จังหวัดสตูล เวลาประมาณบ่าย 2 กว่าจะได้ เหตุการณ์ในวันนั้นเกิดขึ้นที่สะพาน พี่ของดิฉันกำลังมุ่งหน้าไปหาดปากบาราแล้วมีรถจักรยานยนต์คันหนึ่งซึ่งขี่มาทางด้านหลังซึ่งจะแซงรถพี่ชายของดิฉัน แต่แล้วปัญหาก็เกิดขึ้น ตอนที่เขาแซงมีรถยนต์อีกคันสวนเข้ามาทำให้เขาที่กำลังจะแซงรถของพี่ชายดิฉันแซงไม่พ้นเขาอยู่ในอาการมึนสุราด้วย ทำให้เหตุการณ์กลับกลายเป็นว่าพี่ชายของดิฉันชนกับคนที่ขี่จักรยานยนต์คนนั้นตอนที่ชนแล้วเขายังไม่ตายแต่มีรถยนต์อีกคันมาจากไหนไม่รู้พุ่งชนเขาอีกครั้งแล้วหลบหนีไป ทำให้พี่ชายของดิฉันกลายเป็นผู้ต้องหาขับรถชนคนตาย แต่เหตุการณ์ในครั้งนั้นตกลงกันทั้งสองฝ่ายไม่ได้ เพราะทางครอบครัวของจำเลยไม่ยอมกล่าวหาว่าพี่ชายของดิฉันเป็นคนทำให้ลูกของเขาเสียชีวิต แต่ทางฝ่ายครอบครัวดิฉันก็รับผิดชอบจ่ายค่าทำศพให้เรียบร้อยนึกว่าเหตุการณ์จะจบลง แต่เขาไม่ยอมยังคิดว่าพี่ชายเป็นคนผิด เรื่องจึงขึ้นศาลในขณะที่เขาฟ้องร้องแจ้งความเท็จต่อศาลว่าพี่ชายเป็นคนขับรถชนลูกชายเขาแต่เขาไม่มีหลักฐานที่จะเอาความผิดพี่ชายดิฉันได้เพราะที่เกิดเหตุก็บ่งบอกว่าพี่ชายไม่มีความผิด เนื่องด้วยหลักฐานที่ชัดเจนพร้อมพยานหลักฐานที่เป็นข้อยืนยันว่าพี่ชายไม่ได้ขับรถชนเขาทางครอบครัวจึงสู้คดี ตอนนี้ครอบครัวของดิฉันก็หลุดพ้นคดีแล้วด้วยพยานหลักฐานมีน้ำหนักกว่าทางเขา
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงอยากให้คนที่ขับขี่รถควรระมัดระวังในการขับขี่ ขับอย่างปลอดภัยเพื่อชีวิตและตัวคุณเอง
จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นความผิดตามมาตรา 172 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา คือ
องค์ประกอบภายนอก
1.แจ้งข้อความ
2.อันเป็นเท็จ
3.เกี่ยวกับความผิดอาญา
4.แก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
5.ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
องค์ประกอบภายใน
1.เจตนาธรรมดา

นางสาวศรุตา โอมณี เลขที่ 33 รปศ.502 (ผู้เขียน)