วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเรื่อง พินัยกรรม

พินัยกรรม (อังกฤษ: Will หรือ Testament) เป็นการทำรายการเอกสารในการยกมรดกหรือทรัพย์สินให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ให้ใครโดยจะมีอำนาจหลังจากที่ผู้ทำได้เสียชีวิตไปแล้ว และพินัยกรรมนี้จะต้องถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้
รูปแบบของพินัยกรรม มีทั้งหมด 5 รูปแบบ คือ
1. พินัยกรรมแบบธรรดา (ป.พ.พ. มาตรา 1656)
ในการทำเป็นการเขียนตามรูปแบบหรือการพิมพ์ โดยพินัยกรรมที่ทำต้องลงวันที่ เดือน ปี ใน วันที่ทำพินัยกรรม และเจ้าของมรดกต้องเซ็นท้ายพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนและพยานต้องลงรายชื่อรับรองลายมือผู้ทำพินัยกรรมนั้นด้วย
2. พินัยกรรมแบบเขียนขึ้นเองทั้งฉบับ (ป.พ.พ. มาตรา 1657)
เจ้าของมรดกจะต้องเขียนขึ้นด้วยตนเองเท่านั้น จะให้ผู้อื่นเขียนแทนไม่ได้ เขียนเองทั้งฉบับ ต้องระบุวัน เดือน ปี ที่ทำการเขียน และลงลายมือชือตนเองลงไปด้วย
3. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง (ป.พ.พ. มาตรา 1658)
ผู้ทำพินัยกรรมต้องแจ้งความประสงค์ด้วยตนเองต่อนายอำเภอ และต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คนนายอำเภอจะจดข้อความพินัยกรรมลงไว้ และจะอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟังเมื่อข้อความถูกต้องเรียบร้อย ผู้ทำพินัยกรรมและพยานก็ลงชื่อไว้ จากนั้นนายอำเภอจะลงวันที่ เดือน ปี และลงลายมือชื่อไว้ แล้วเขียนบอกว่าพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้นถูกต้องทั้งหมด แล้วประทับตราตำแหน่งนายอำเภอเป็นอันเรียบร้อย
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ (ป.พ.พ. มาตรา 1660)
ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนพินัยกรรมด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นเขียนแทนก็ได้ และต้องลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ทำการปิดผนึกพินัยกรรมไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้น ว่าเป็นพินัยกรรมตน ถ้าพินัยกรรมนั้นมิได้เป็นผู้เขียนเอง ต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วยเมื่อนายอำเภอจดถ้อยคำและวัน เดือน ปี ที่ได้ทำพินัยกรรมไว้บนซอง แล้วก็ประทับตราตำแหน่งและลายมือชื่อบนซอง พร้อมกับผู้ทำพินัยกรรมและพยานด้วย
- ข้อยกเว้นการทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ
ถ้าบุคคลผู้เป็นใบ้และหูหนวกหรือผู้ที่พูดไม่ได้ มีความประสงค์ในการพินัยกรรมให้เขียนด้วยตนเองบนซองพินัยกรรมและให้ผู้อื่นไว่าเป็นพินัยกรรมของตนแทน
5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา (ป.พ.พ. มาตรา 1663)
ในกรณีที่ตกอยู่ในอันตรายใกล้เสียชีวิตหรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ทำด้วยวาจาได้ โดยแสดงเจตนาทำพินัยกรรมต่อหน้า พยานอย่างน้อย 2 คน แล้วพยานทั้งสองนั้นจะต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอ แล้วแจ้งขอทำพินัยกรรมแจ้งวันเวลาให้ทราบด้วยสถานที่ทำพินัยกรรมหรือพฤติกรรมพิเศษต่อ นายอำเภอจะจดข้อความนั้นไว้ แล้วพยานทั้ง 2 คนลงลายมือชื่อหรือถ้าลงลายนิ้วมือต้องมีพยานเพิ่มขึ้นอีก 2 คน เพื่อรับรองลายนิ้วมือด้วย
- ความสมบูรณ์ในการทำพินัยกรรม
ความสมบูรณ์ในการทำพินัยกรรมทำขึ้นตามมาตราก่อนนั้นย่อมสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลาผู้ทำพินัยกรรมกลับมาสู้การทำพินัยกรรมแบบอื่นๆที่กำหนดไว้ได้
- ความไม่สมบูรณ์ในการทำพินัยกรรม
หากมีการขูดลบ หรือเติมแก้ไขเปลี่ยนลแปลงข้อความใดๆ มีผลทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ได้ปฏิบัติอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรม หรือไม่ได้มีการเซ็นรับรองการเปลี่ยนแปลงใดๆจะทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์เช่นกัน
- หลักทั่วไปในการทำพินัยกรรม
โดยปกติแล้วเมื่อผู้ใดเสียชีวิตลง มรดกของบุคคลนั้นย่อมจะตกแก่ทายาท เช่น บิดา มารดา บุตร สามีหรือภรรยาเป็นต้น แต่ถ้าก่อนที่บุคคลนั้นจะเสียชีวิตลงเขาอาจจะทำ พินัยกรรมยกทรัพย์สินของเขาให้แก่ผู้ใดก็ได้ ไม่จำเป็นว่าบุคคลที่มีสิทธิรับพินัยกรรมจะต้อง เป็นทายาทเสมอไป
การทำพินัยกรรม เป็นเรื่องที่เราประสงค์จะให้ทรัพย์สินของเราตกแก่ใครเมื่อเราตายไปแล้ว แตกต่างจากการที่เราจะยกทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่นในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ หากว่า เราประสงค์ที่จะยกทรัพย์สินของเราให้แก่ผู้ใด เมื่อเราตายไปแล้วเราเรียกว่า พินัยกรรม ซึ่งต้องทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายเรากำหนด
1. ลักษณะของพินัยกรรม
พินัยกรรม คือการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเป็นผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย พินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาที่ประสงค์ให้มีผลเมื่อตนเองตายไปแล้ว ซึ่งจะยกทรัพย์สินให้แก่ใครก็ได้ หรือให้ผู้ใดเข้ามาจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดของตนก็ได้ แต่จะทำให้พินัยกรรมนั้น มีผลบังคับไปถึงทรัพย์สินของผู้อื่น ที่มิใช่ของตนนั้นย่อมทำไม่ได้ เช่น นายแดงทำพินัยกรรมว่า เมื่อตนเองตายจะขอยกที่ดินของนายขาว ซึ่งเป็นพี่ชายตนให้แก่ นางเหลือง ซึ่งเป็นการยกทรัพย์สินของผู้อื่นให้แก่นางเหลือง กรณีเช่นนี้ ทำไม่ได้ เพราะไม่ใช่ ทรัพย์สินของตน เอกสารที่มีข้อความเป็นพินัยกรรมแม้ไม่มีคำว่าเป็นพินัยกรรม ก็ถือว่าเป็น พินัยกรรมมีผลให้ได้ แต่ถ้ามีคำว่าพินัยกรรม แต่ไม่มีข้อความว่าพินัยกรรม ให้มีผลบังคับ
เมื่อตายไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นพินัยกรรม เช่น สมชายเขียนหนังสือไว้ว่า ตั้งแต่นี้ต่อไปขอทำ
พินัยกรรมยกเงินสดให้แก่นายเจริญ 5,000 บาท ดังนี้ถือว่าไม่ใช่พินัยกรรม เพราะไม่ประสงค์
จะให้นายเจริญได้รับเงินเมื่อหลังจากที่ นายสมชายตายไปแล้ว การพิจารณาว่าเป็นพินัยกรรมหรือไม่ ต้องมีข้อความกำหนดการเผื่อตายในเรื่องของทรัพย์สินของผู้ตายว่าให้ตกเป็นของใคร หรือให้จัดการอย่างไรเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายไปแล้ว หากมีข้อความดังกล่าวก็เป็นพินัยกรรมโดยไม่ต้องระบุว่าเป็นพินัยกรรม การทำพินัยกรรมอาจไม่ใช่เรื่องการยกทรัพย์สินให้ผู้ใดก็ได้ แต่อาจเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่ให้มีผลตามกฎหมายก็ได้ เช่น เมื่อตนเองตายไปแล้วขอยกปอดให้แก่โรงพยาบาลศิริราชหรือให้จัดงานศพของตนอย่างง่าย ๆ ดังนี้ก็เป็นพินัยกรรมเช่นกัน
2. ข้อพิจารณาในการทำพินัยกรรม
ผู้ที่ทำพินัยกรรมได้ต้องมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ จึงมีสิทธิตามกฏหมายในการทำพินัยกรรม
หากอายุต่ำกว่า 15 ปีทำพินัยกรรม ถือว่า พินัยกรรมนั้นใช้ไม่ได้ (พินัยกรรมนั้นไม่มีผล) หรือ ตาม
กฎหมายเรียกว่า เป็นโมฆะนั่นเอง นอกจากนั้นบุคคลใดที่ศาลได้มีคำสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความ
สามารถแล้ว ก็ไม่สามารถทำพินัยกรรมได้เช่นกัน หากฝ่าฝืนทำพินัยกรรมขึ้นมาผลก็คือพินัยกรรม นั้นใช้ไม่ได้หรือตามกฎหมายเรียกว่าเป็นโมฆะเช่นกัน

นางสาว พัชรินทร์ แสวงหา
เลขที่ 21 รปศ.502 ผู้เขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น