วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

รู้ทันกฏหมาย เรื่องพินัยกรรม

รู้ทันกฎหมาย : พินัยกรรม
การทำพินัยกรรมเป็นเรื่องส่วนตัวของคนคนนั้น อย่าว่าแต่สามีหรือภรรยาจะมากำกับเราไม่ได้ ต่อให้พ่อให้แม่ก็ยังไม่มีอำนาจสั่งให้หรือห้ามทำพินัยกรรมได้เลยการทำพินัยกรรมจำกัดอายุขั้นต่ำเอาไว้ ต้องอายุได้ 15 ปีแล้ว แม้ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายก็ทำได้ด้วยตนเอง อย่าคิดว่าลำบากยากจนไม่มีสมบัติ และไม่ต้องรอให้รวยเสียก่อนค่อยทำ เพราะพินัยกรรมเป็นกากำหนดการเผื่อตายเอาไว้ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรมันจะมาถึง และเมื่อนั้นเราอาจมีเงินมีทรัพย์สินมากมายก็เป็นได้
ในทางกลับกัน ต่อให้มีกี่ล้านในตอนที่ทำพินัยกรรมไว้ เกิดมาตายเอาตอนตกยาก พินัยกรรมจะสั่งเอาไว้ให้ยกทรัพย์อะไรให้ใครอย่างไร ถ้าทรัพย์สมบัติทั้งหลายไม่มีจะยกให้ ก็บังคับตามพินัยกรรมไม่ได้เท่ากับว่าการทำพินัยกรรมเป็นการจัดสรรแบ่งสมบัติตามที่เราต้องการให้มันเป็นไปในฐานะผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้น แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย ไม่ใช่บอกว่าจะยกให้แล้วจะกลายเป็นพินัยกรรมแล้ว
หลักที่ว่าก็คือ ต้องเข้าใจว่า ที่อยากยกอะไรให้ใครนั้น มันจะมีผลต่อเมื่อคนทำพินัยกรรมตายไปเสียก่อน เพียงแค่นอนเป็นพืชเป็นผักก็ยังไม่ได้ ต้องให้ตายแบบมีใบมรณะบัตรจริงๆ
อีกอย่างที่ต้องเข้าใจ เราไม่จำเป็นต้องยกทรัพย์ให้ใครต่อใครจนครบจำนวน บางทีเราเพียงอยากจะให้ที่ดินแปลงนี้หรือเงินฝากในธนาคารบัญชีนี้ให้กับลูกคนนี้ที่เรารักมากที่สุด ก็สามารถทำพินัยกรรมสั่งไว้แค่นั้นได้ ไม่ต้องไปแตะสมบัติชิ้นอื่น
พอตายไป ส่วนที่ระบุไว้ก็ตกได้ตามพินัยกรรม ส่วนสมบัติอย่างอื่นที่ไม่ได้บอกไว้ในพินัยกรรมก็เป็นไปตามกลไกของกฎหมายที่ต้องแบ่งให้ทายาทเป็นลำดับๆ ไป แม้กระทั่งลูกคนที่ได้ตามพินัยกรรมก็ยังมีสิทธิแบ่งได้จากมรดกนอกพินัยกรรมด้วย
นางสาวศรุตา โอมณี
เลขที่33 รปศ.502

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น