วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงาน

กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงาน

เจ้าพนักงาน หมายถึง ผู้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายเฉพาะบัญญัติมาให้เป็นเจ้าพนักงาน ยกตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กำหนดให้กรรมการนับคะแนนหรือกรรมการตรวจคะแนนซึ่งเป็นประชาชนธรรมดา เป็นเจ้าพนักงาน นี่ก็ถือว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ส่วนข้าราชการที่รับเงินเดือนประเภทงบประมาณก็ถือเป็นเจ้าพนักงานเช่นกัน ถ้าเพียงแต่เป็นลูกจ้างหรือลูกจ้างชั่วคราวนั้นไม่ถือเป็นเจ้าพนักงาน เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติเฉพาะให้เป็นเจ้าพนักงาน
ข้อสังเกต - ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการนี้ ถึงแม้บุคคลธรรมดากระทำโดยลำพังจะไม่เป็นความผิด แต่เมื่อร่วมกับเจ้าพนักงานก็อาจเป็นผู้สนับสนุนได้
ต่อไปเป็นเรื่องหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามมาตรา 147 ถ้าหากไม่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ
ทรัพย์ใด ก็จะไม่เข้าองค์ประกอบความผิด
ส่วนทรัพย์ตามความหมายของมาตรา 147 นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นของทางราชการเสมอไปก็ได้ ตัวอย่างเช่น เงินประกันตัวผู้ต้องหาหรือโฉนดที่ดิน หรือของกลางในคดีอาญาที่ทางราชการมีหน้าที่รักษาไว้ เป็นต้น
คำว่าเบียดบัง มีความหมายทำนองเดียวกับยักยอก คือ ต้องครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ แล้วเอาทรัพย์นั้นไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นการเอาไปเพียงชั่วคราวแล้วเอากลับมาคืน นั่นย่อมไม่ใช่พฤติการณ์เบียดบัง
กฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับ การกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงาน
หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
มาตรา 136 ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือ เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 136 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจ ทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือ ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 138 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
มาตรา 139 ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วย หน้าที่หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินแปดพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 140 ถ้าความผิดตาม มาตรา 138 วรรคสอง หรือ มาตรา 139 ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะมีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง
หมายเหตุมาตรา 140 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2514
มาตรา 141 ผู้ใดถอน ทำให้เสียหาย ทำลายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่สิ่ง ใด ๆ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในการยึดอายัด หรือรักษาสิ่งนั้น ๆ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 142 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินหรือเอกสารใด ๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้ หรือสั่งให้ส่ง เพื่อเป็นพยานหลักฐาน หรือเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษา ทรัพย์ หรือเอกสารนั้นไว้เองหรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่นส่งหรือรักษา ไว้ก็ตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 143 ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือ ได้จูงใจพนักงานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐสมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมาย หรือโดย อิทธิพลของตนให้กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 144 ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา จังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 145 ผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็น เจ้าพนักงาน โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
เจ้าพนักงานผู้ใดได้รับคำสั่งมิให้ปฏิบัติการ ตามตำแหน่งหน้าที่ ต่อไปแล้วยังฝ่าฝืนกระทำการใด ๆ ในตำแหน่งหน้าที่นั้น ต้องระวาง โทษตามที่กำหนดไว้ในวรรคแรกดุจกัน
มาตรา 146 ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่อง หมายของเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา จังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล หรือไม่มีสิทธิใช้ยศ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กระทำการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ ต้องระวางโทษ
นางสาว พัชรินทร์ แสวงหา
รปศ.502 เลขที่ 21 ผู้เขียน

1 ความคิดเห็น: