วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สิทธิการตาย
"บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง"


จะเห็นได้ว่ามาตรานี้ ทำให้เกิดสิทธิขึ้น 2 อย่างด้วยกัน คือ
-สิทธิการตาย - เป็นเจตจำนงของผู้ป่วยเองโดยตรงที่จะตาย (อย่างมีศักดิ์ศรี?)
-สิทธิที่จะฆ่า - ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขเช่น แพทย์หรือพยาบาล สามารถละเว้นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโดยไม่ผิดกฎหมาย

บทความที่น่าสนใจ

1.พินัยกรรมชีวิต

2.คนไข้มีสิทธิเหมือนตายสงบ

3.คณะรัฐมนตรีผ่านกฎหมายกระทรวง

สิทธิผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตามมาตรา 12 ของพรบ. สุขภาพแห่งชาติ 2550 ที่อนุญาติให้ทำพินัยกรรมชีวิต หรือหนังสือแสดงสิทธิปฎิเสธการรักษา หมายถึง การไม่ขอรักษาที่ทำไปเพื่อยืดการตาย หรือยึดชีวิตที่ไม่อาจฟื้นกลับมาเหมือนเดิมได้เป็นการขอให้แพทย์รักษา

ในเรื่องของสิทธิในการตาย ในเมื่อผู้ป่วยอยู่ในระยะไร้การเยียวยา สภาพร่างกายเสื่อมจนฟื้นคืนไม่ได้อีกแล้ว สิทธิการตาย น่าจะอยู่ที่การปล่อยให้ขั้นตอนการตายเป็นไปตามธรรมชาติ และก็ไม่ได้หมายความว่า แพทย์จะยุติการรักษา เพียงแต่การรักษาในระยะนี้เป็นไปเพื่อเยียวยาอาการ บรรเทาความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน แต่จะไม่ทำอะไรรุกเร้า เร่งหรือยื้อความตายอีกต่อไป ถ้าหากจะยืดการตายออกไปก็เป็นไปเพื่อสร้างความพร้อมทางจิตวิญญาณให้กับผู้ที่กำลังจะจากไป ในเรื่องของละครถ้าผู้ป่วยที่ไม่สามารถเยียวยารักษาได้ บุคลที่มีสิทธิตามความเป็นจริง คือ พ่อและแม่ที่สิทธิในผู้ป่วย

นางสาวศรุตา โอมณี

1 ความคิดเห็น: