วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แสดงความคิดเห็น เรื่องhappy birthday สิทธิการตาย

เรื่องย่อ


พระเอกเป็นช่างภาพนิตยสารได้เข้าร้านหนังสือ เพื่อหาหนังสือที่มีรูปสวยๆ แต่กลับพบว่าหนังสือที่สนใจและมีเพียงเล่มเดียวนั้น มีคนมือบอนเขียนข้อความ ลงในหนังสือตามรูปต่างๆ เพื่อบอกว่าความจริงกับรูปที่ถ่ายเป็นอย่างไร ในที่สุดพระเอกได้ตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนั้น โดยมีข้อแม้ให้คนขาย วางหนังสือไว้ที่เดิม เพื่อเฝ้าดูคนมือบอน และมีการเขียนตอบโต้กัน ในหนังสือเล่มนั้น แต่พระเอกก็ยังไม่มีโอกาสเจอคนมือบอนสักครั้ง แต่ในที่สุดพระเอกก็ได้พบคนที่เขียนข้อความในหนังสือซึ่งก็คือนางเอกนั่นเอง โดยได้พบกันบังเอิญในร้านอาหารที่พระเอกได้แนะนำไป และนางเอก อยากลองพิสูจน์ว่าอาหารอร่อยจริงหรือไม่ และทำให้เป็นจุดเริ่มความสัมพันธ์ของทั้ง 2 คน แต่ภายหลังนางเอกก็เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ต่อหน้าพระเอก ในวันเกิดของพระเอก ที่ทั้ง 2 ได้นัดพบกัน และวันนั้นพระเอกก็ได้ สัญญากับนางเอกว่าจะดูแลกันและกันจนกว่าอีกฝ่ายจะตายจากไป เมื่อนางเอกประสบอุบัติเหตุทำให้ก้านสมองตาย และพ่อกับแม่ ของนางเอกตัดสินใจปล่อยให้ลูกตายจากไป แต่พระเอกกับไม่ยอม โดยยอมเสียสละตัวเองดูแลนางเอกตามสัญญา แม้จะต้องแลกด้วยทุกอย่าง
บทความที่น่าสนใจ
1.พินัยกรรมชีวิต
2.คนไข้มีสิทธิเหมือนตายสงบ
3.คณะรัฐมนตรีผ่านกฎหมายกระทรวง
สิทธิผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550 ที่อนุญาติให้ทำพินัยกรรมชีวิต หรือหนังสือแสดงสิทธิปฎิเสธการรักษา หมายถึง การไม่ขอรักษาที่ทำไปเพื่อยืดการตาย หรือยึดชีวิตที่ไม่อาจฟื้นกลับมาเหมือนเดิมได้

วิเคราะห์ พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็น
จากเรื่องย่อเรื่อง happy birthday เมื่อนางเอกประสบอุบัติเหตุทำให้ก้านสมองตาย และพ่อกับแม่ ของนางเอกตัดสินใจปล่อยให้ลูกตายจากไป แต่พระเอกกับไม่ยอม โดยยอมเสียสละตัวเองดูแลนางเอกตามสัญญา แม้จะต้องแลกด้วยทุกอย่าง
ตามข้อกฎหมายจะกล่าวบัญญัติเกี่ยวเรื่องสิทธิการตายว่าบุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง" จะเห็นได้ว่ามาตรานี้ ทำให้เกิดสิทธิขึ้น 2 อย่างด้วยกัน คือ
-สิทธิการตาย - เป็นเจตจำนงของผู้ป่วยเองโดยตรงที่จะตาย (อย่างมีศักดิ์ศรี?)
-สิทธิที่จะฆ่า - ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขเช่น แพทย์หรือพยาบาลสามารถละเว้นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโดยไม่ผิดกฎหมาย
กฎหมาย ตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550 ก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้ไม่เป็นการทรมารให้ผู้ป่วยจะต้องทนทุกข์ทรมารเกิน อย่างเช่นที่พระเอกพยายามที่จะยื่อชีวิตของนางเอกไว้ เพื่อที่จะทำตามสัญญาที่ได้เคยสัญญากับนางเอกไว้ว่าจะไม่ถึงกัน ถึงแม้ว่าชีวิตจะหาไม่ก็ตาม ก็จะไม่มีวันที่จะจากกัน ซึ่งนั่นหมายความว่า พระเอกพยายามที่จะยื้อชีวิตของนางเอกไว้ ทั้งๆที่ในเรื่องดูเหมือนว่ายังไงนางเอกก็จะไม่มีวันฟื้นอีกแล้ว แต่ตัวเอกก็ยังดื้อที่จะยังเก็บนางเอกเอาไว้ ก็เหมือนกับทำให้นางเอกต้องตายทั้งเป็น
ฉะนั้น ที่พ่อ –แม่ของนางเอกได้ตัดสินใจปล่อยให้ลูกตายจากไปดิฉันคิดว่าได้ทำถูกแล้วเพราะคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ไม่ควรที่ยื่อชีวิตลูกเอาไว้ทั้งๆที่มองไม่เห็นทางว่ายังไงลูกก็ต้องตายและสุดท้ายพระเอกก็ควรที่จะทำตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550 ที่ สิทธิผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550 ที่อนุญาติให้ทำพินัยกรรมชีวิต หรือหนังสือแสดงสิทธิปฎิเสธการรักษา หมายถึง การไม่ขอรักษาที่ทำไปเพื่อยืดการตาย หรือยึดชีวิตที่ไม่อาจฟื้นกลับมาเหมือนเดิมได้
เรียบเรียงโดย
นางสาว พัชรินทร์ แสวงหา
เลขที่ 21 รปศ.502

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น