วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

บทความ เรื่อง การหย่าร้าง ที่ชีวิตคู่ควรรู้

การหย่าร้าง

การหย่าร้าง หมายถึง การสิ้นสุดของชีวิตคู่ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวเข้าหากันได้ หรือมีเหตุผลทางสังคมอย่างอื่น
การหย่าร้างของคู่สมรส ของคู่จดทะเบียนสมรสมี 2 แบบ คือ การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย และการหย่าโดยการฟ้องหย่า
การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ที่ทำการจดทะเบียนสมรสจะไปทำการหย่ากันที่อำเภอ ตกลงกันในเรื่องทรัพย์สิน บุตร ค่าเลี้ยงดู และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน พร้อมด้วยพยาน 2 คน เรียกว่า จดทะเบียนหย่า
การหย่าร้างก่อให้เกิดผลเสีย คือ นำความผิดหวังมาสู่คู่สมรส และบุตร ทำให้เสียบุคลิกภาพ เกิดความทุกข์ทรมานใจ การหย่าร้างยังก่อให้เกิดปัญหาสังคม เช่น โสเภณี ปัญหาเด็กและเยาวชน ฯลฯ เกิดความหมางเมินระหว่างความสัมพันธ์ของญาติพี่น้องทั้งสองฝ่าย และฝ่ายหญิงมักประสบปัญหาการดิ้นรนแสวงหาการเลี้ยงชีพและบุตร
ดิฉันคิดว่าปัจจุบันนี้ การหย่าจะเกิดขึ้นได้ ง่ายมากๆ หากทั้งสองฝ่ายตกลงเรื่องอนาคตกันได้ การหย่านั้นแน่อยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ เซ็งหน้ากันขึ้นมาก็ขอหย่า มันต้องมีสาเหตุ เมื่อสาเหตุมันเกิดขึ้น ก็ย่อมต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะตัดสินใจได้ว่า อนาคตของทั้งคู่จะเป็นอย่างไร
แต่ถ้าคุณมั่นใจว่าคุณต้องการจะหย่าร้างกัน ดิฉันคิดว่าควรปฏิบัติดังนี้
1.หาทนาย
การหย่ากันให้เป็นผลนั้น ต้องทำตามกฏหมาย มีเอกสารหย่าเป็นหลักฐาน ซึ่งจำเป็นต้องมีทนาย หากว่าทั้งสองตกลงกันได้ด้วยดี ก็อาจจะมีเพียงผู้ประสานการหย่าร้าง ซึ่งเขาจะทำหน้าที่คอยดูแลให้แน่ใจว่าทั้งสองฝ่ายจากกันได้ด้วยดี และจะไม่มีปัญหาอะไรในอนาคต
2. ขอหย่า
การหย่าร้างจะทำได้ 2 วิธี คือ
1. แยกกันอยู่ หากว่าคุณทนไม่ได้ที่จะต้องอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน กรณีนี้ทั้งคู่ยังคงเป็นสามีภรรยากันอยู่ คุณจะแยกกันอยู่ก็ได้ ถ้าหากว่ายังไม่พร้อมทางด้านการเงินที่จะต้องหย่าร้างกันจริงๆ หากภายหลังทั้งคู่พร้อม ก็ทำการหย่าร้างกันตามกฏหมายต่อไป
2. หย่าร้างกันไปเลย กรณีหลังนี้ต้องให้ทนายหรือผู้ประสานงานหย่าร้าง ทำหนังสือคำขอ ยื่นพร้อมกับเอกสารทะเบียนสมรส และใบแจ้งเกิดของทั้งคู่และบุตร(ถ้ามี)ไปยังศาล ทั้งคู่จะเลิกกันตามกฏหมายและสามารถจะแต่งงานใหม่กับบุคคลอื่นได้ในภายหลัง
หลังจากที่รู้ว่าจะไม่อยู่ด้วยกันแล้ว สิ่งสำคัญที่เป็นหัวข้อในการจัดการก็คือลูก และเรื่องการเงิน (หรือสินสมรส) ว่าจะแบ่งกันอย่างไร ถ้าทั้งสองฝ่ายตกลงเรื่องนี้กันได้ก่อนหย่า ทนายก็สามารถจะแจ้งเรื่องขึ้นสู่ศาลได้เลยล่วงหน้า ทั้งนี้เราต้องทำรายการว่าสินทรัพย์ที่มีนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

การฟ้องหย่า
เมื่อสองฝ่ายตกลงกันด้วยดีไม่ได้ หรืออีกฝ่ายยักท่า ไม่ยอมหย่า ก็ต้องฟ้องหย่า การฟ้องหย่านั้นจะทำได้โดยทั้งสองฝ่ายจะต้องมีทนายความของตนเอง และห้ามใช้ทนายคนเดียวกัน

การฟ้องหย่าเริ่มต้นด้วยการยื่นคำร้องขอหย่า ซึ่งจัดทำโดยทนายของคุณ ทนายจะต้องรวมรวมข้อมูล เอกสาร และหลักฐานต่างๆ เพื่อให้ศาลยินยอมให้คุณได้หย่า ทั้งนี้ทนายของอีกฝ่ายก็สามารถยื่นเอกสารเพื่อให้คำร้องของคุณตกไป เมื่อศาลมีเอกสารของทั้งสองฝ่ายแล้วก็จะเชิญทั้งคู่มาให้ปากคำในศาล หลังจากสองอาทิตย์เมื่อได้ผลสรุปและการตัดสินจากศาล ศาลก็จะออกใบอนุมัติการหย่าของคุณมา ซึ่งจะมีรายละเอียดการตกลงในเรื่องต่างๆขัางต้น ทั้งคู่ต้องยินยอมรับไปปฏิบัติตาม การต่อสู้ในชั้นศาลอาจะใช้เวลาสามเดือนขึ้นไป หรือนานกว่านั้น
หากว่าคุณมีลูก ศาลจะตัดสินจากปัจจัยต่างๆ ว่าลูกควรจะอยู่กับใคร และ ถ้าลูกคุณอายุเกิน 12 ปี ซึ่งถือว่าตัดสินใจเองได้ ศาลจะให้เด็กเป็นผู้เลือกว่าอยากอยู่กับใคร ถ้าหากว่าคุณยังไม่พอใจกับผลการตัดสินของศาล คุณสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อไปในชั้นสูงได้ ภายในสองเดือนหลังจากผลของการตัดสินแรก
แต่สุดท้ายนี้ดิฉันก็ขอฝากแนวคิดเล็กๆ น้อยให้กับชีวิตคู่ทั้งหลาย …ว่า…
คำเตือนและคำแนะนำสำหรับคนที่ยังไม่ได้แต่งงาน ชีวิตแต่งงานของคุณ ไม่มีบุคคลที่สามใดที่จะเข้าใจได้ดีกว่าคุณทั้งคู่เอง หากว่าการทนอยู่ด้วยกันมีแต่จะทำให้ทั้งสองฝ่าย รวมทั้งลูกหมดความสุข การเลือกที่จะหย่าร้างก็เป็นสิทธิของทั้งคู่ อย่าทำให้คนรอบข้างเดือดร้อนด้วยการพยายามเป็นศัตรูกับอีกฝ่ายหนึ่ง อย่าแต่งงานเพียงเพราะว่าคุณคิดว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้น การแต่งงานที่ขาดความรักความเข้าใจและโดยอย่างยิ่งความอดทน จะเป็นผลไปสู่การหย่าร้างกันในเร็ววัน เมื่อคุณตัดสินใจแต่งงาน อย่าลืมว่าคุณได้ใช้เวลาปลูกต้นรักมา ก่อนจะเลิกรากัน ใช้เวลาพิจารณาสิ่งที่คุณได้ทำร่วมกัน และนึกถึงอนาคตของบุคคลที่สามด้วย อย่าพยายามคิดล่วงหน้าไปถึงการหย่าร้าง เพราะนั้นหมายถึง เป็นการทำร้ายบุคคลที่สาม ที่เรียกว่า ลูก ของคุณก็ได้

นางสาว พัชรินทร์ แสวงหา
รปศ. 502 เลขที่ 21 ผู้เขียน

1 ความคิดเห็น: